จังหวัดน่าน
แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง
พระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอก ... ดอยเสมอดาว
สุดยอดวิวเหนือลำน้ำน่านและตำนานรักสามเศร้า ... ผาชู้
ดอกไม้งามแหล่งนางพญาเสือโคร่ง ... ขุนสถาน
ศูนย์ภูฟ้าและโรงต้มเกลือสินเธาว์ ... บ่อเกลือ
ดอกชมพูภูคาและป่าดึกดำบรรพ์ ... ดอยภูคา
อรุณสวัสดิ์ดอยวาว... นันทบุรี
สุดยอดวิวเหนือลำน้ำน่านและตำนานรักสามเศร้า ... ผาชู้
ดอกไม้งามแหล่งนางพญาเสือโคร่ง ... ขุนสถาน
ศูนย์ภูฟ้าและโรงต้มเกลือสินเธาว์ ... บ่อเกลือ
ดอกชมพูภูคาและป่าดึกดำบรรพ์ ... ดอยภูคา
อรุณสวัสดิ์ดอยวาว... นันทบุรี
ข้อมูลจังหวัดน่าน
จังหวัดน่าน ตั้งอยู่ในทางภาคเหนือตอนบน ของประเทศไทย โดยจังหวัดน่านเป็นจังหวัดที่มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ยาวนาน มีชื่อเรียกในพงศาวดารว่า "นันทบุรี" จังหวัดน่านมีพื้นที่กว้างใหญ่ และพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดน่านเต็มไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน และมีลำน้ำหลายสาย เช่น ลำน้ำน่าน ลำน้ำว้า ฯลฯ และจังหวัดน่านยังมีประชากรหลายชาติพันธุ์ ซึ่งนับว่าเป็นดินแดนแห่งความหลากหลายอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย
จังหวัดน่าน มีสถานที่ท่องเที่ยว อันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถทำให้ผู้สนใจ ได้เลือกมากท่องเที่ยวมากมายไม่รู้จบ มีทั้งสถานที่ทางประวัติศาสตร์ สถานที่โบราณคดี และแหล่งอารยธรรมโบราณ โดยเป็นสถานที่ที่เพิ่งค้นพบในเขตอำเภอเมืองน่าน และในส่วนของโบราณสถาน โดยเฉพาะวัดเก่าแก่ก็มีให้เห็นอยู่แทบทุกอำเภอของจังหวัดน่าน อันได้แก่ วัดพระธาตุแช่แห้ง ซึ่งเป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดน่าน, วัดภูมินทร์, หอคำ, วัดหนองบัว, วัดบุญยืน ซึ่งแต่ละวัดล้วนแต่มีอายุนับร้อย ๆ ปี มีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงามทั้งสิ้น
ประวัติศาสตร์เมืองน่าน
หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในบริเวณจังหวัดน่าน เช่น เครื่องมือหิน กลองสัมฤทธิ์ที่ใช้ประกอบพิธีศพสำหรับชาวเอเชียตะวันออกเฉียงไต้ เป็นเครื่องยืนยันว่าดินแดนนี้มีมนุษย์มาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ก่อนสมัย ประวัติศาสตร์ ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ขุนน่าน และ ขุนฟอง ได้นำผู้คนอพยพจากตอนบนของแม่น้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานยังที่ราบลุ่มตอนบนของแม่ น้ำน่าน ใกล้กับเทือกเขาดอยภูคา และในปี พ.ศ. 1902 เจ้าพระยาการเมืองย้ายเมืองไปยังเวียงภูเพียงแช่แห้งฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ น่านซึ่งไม่ได้ใหญ่กว่าหรืออุดมสมบูรณ์กว่าเมืองปัวแต่ใกล้กับเมืองสุโข ทัยมากขึ้น
ในปี พ.ศ. 1911 เจ้าพระยาผากองบุตรของเจ้าพระยาการเมืองได้ย้ายเมืองมายังฝั่งตะวันตกของ แม่น้ำน่าน ซึ่งเป็นเมืองน่านในปัจจุบัน ตามศิลาจารึกหลักที่ 45 และ 46 ในปี พ.ศ. 1935 ปู่พระยา (เจ้าพระยาผากอง) และพระราชนัดดา (พระมหาธรรมราชาที่ 2 แห่งสุโขทัย) ได้ให้คำสาบานที่จะช่วยเหลือกันและกันในยามสงคราม ความสัมพันธ์ระหว่างน่านและสุโขทัยได้ดำเนินมาจนกระทั่งสุโขทัยผนวกเข้ากับ อยุธยา ในปี พ.ศ. 1981
เมืองน่านมีความสัมพันธ์ติดต่อค้าขายกับนครรัฐเล็กๆ รอบบ้าน เช่น หลวงพระบาง ล้านช้าง และสิบสองปันนา รัฐเหล่านี้มีความร่วมมือทางการเมืองอย่างเข้มแข็ง ทำการค้าขายกันตามเส้นทางแม่น้ำโขงด้วยคาราวานเกวียน
ก่อนหน้าที่น่านจะถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งชองล้านนาทั้งสองดินแดนมีความ สัมพันธ์กันผ่านการค้าวัวต่าง และเมื่อเชียงใหม่ตกเป็นประเทศราชของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองแห่งพม่า ในระหว่างปี พ.ศ.2096-2101 เจ้าพระยาพลเทพรือชัย เจ้าเมืองน่านได้หลบหนีไปยังเมืองหลวงพระบาง และน่านตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าจนกระทั่งสิ้นกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310
ระหว่างปีพ.ศ. 2101 - 2317 น่านพยายามต่อสู้เพื่ออิสรภาพจากพม่าหลายครั้ง ในปี พ.ศ. 2246 ถือว่าเป็นช่วงเวลาทุกข์เข็ญ ผู้คนต้องหลบหนีสงครามเข้าป่า บางคนถูกจับเป็นเชลยในพม่า ทั้งเมืองและวัดถูกเผาทำลายลง ในปี พ.ศ. 2331 เจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าหลวงเมืองน่าน หันมาสวามิภักดิ์กรุงเทพฯ (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1) เมื่อ พ.ศ.2333 น่านเริ่มนโยบาย "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" มีการอพยพ ชาวไทลื้อจำนวนมากกลับสู่เมืองน่าน
ในสมัยรัชกาลที่ 5 กรุงเทพฯถูกคุกคามจากลัทธิล่าอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสได้ก่อให้เกิด การปฏิรูปการปกครองหัวเมืองล้านนา เพื่อรวมศูนย์อำนาจที่ส่วนกลาง ตั้งแต่ พ.ศ.2435 รัฐบาลกลางกรุงเทพฯได้แต่งตั้งข้าหลวงเข้ามาแทนคณะขุนนางผู้ช่วยเจ้า ผู้ครองนครในการบริหารกิจการบ้านเมือง หลังจากเหตุการณ์ร.ศ.112 (พ.ศ.2436) ไทยต้องยอมเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแก่ฝรั่งเศส เมืองน่านจึงเพิ่มความสำคัญมากขึ้นในฐานะเมืองหน้าด่านติดกับเมืองหลวงพระ บางในลาว ซึ่งเป็นของฝรั่งเศส ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าเมืองน่านกับกรุงเทพฯดำเนินไปด้วยดี รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้แต่งตั้งเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชเป็นพระเจ้า สุริยพงษ์ผริตเดชเพื่อตอบแทนคุณงามความดีที่น่านช่วยกรุงเทพฯในสงครามปราบ กบฏที่เชียงตุง นครเมืองน่านกลายเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยอย่างสมบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 7 หลังจากเจ้ามหาพรหมสุรธาดาเจ้าเมืองน่านองค์สุดท้ายถึงแก่กรรมในปีพ.ศ. 2474 จึงยกเลิกระบบการปกครองโดยเจ้าผู้ครองนครนับแต่นั้นเป็นต้นมา
หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในบริเวณจังหวัดน่าน เช่น เครื่องมือหิน กลองสัมฤทธิ์ที่ใช้ประกอบพิธีศพสำหรับชาวเอเชียตะวันออกเฉียงไต้ เป็นเครื่องยืนยันว่าดินแดนนี้มีมนุษย์มาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ก่อนสมัย ประวัติศาสตร์ ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ขุนน่าน และ ขุนฟอง ได้นำผู้คนอพยพจากตอนบนของแม่น้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานยังที่ราบลุ่มตอนบนของแม่ น้ำน่าน ใกล้กับเทือกเขาดอยภูคา และในปี พ.ศ. 1902 เจ้าพระยาการเมืองย้ายเมืองไปยังเวียงภูเพียงแช่แห้งฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ น่านซึ่งไม่ได้ใหญ่กว่าหรืออุดมสมบูรณ์กว่าเมืองปัวแต่ใกล้กับเมืองสุโข ทัยมากขึ้น
ในปี พ.ศ. 1911 เจ้าพระยาผากองบุตรของเจ้าพระยาการเมืองได้ย้ายเมืองมายังฝั่งตะวันตกของ แม่น้ำน่าน ซึ่งเป็นเมืองน่านในปัจจุบัน ตามศิลาจารึกหลักที่ 45 และ 46 ในปี พ.ศ. 1935 ปู่พระยา (เจ้าพระยาผากอง) และพระราชนัดดา (พระมหาธรรมราชาที่ 2 แห่งสุโขทัย) ได้ให้คำสาบานที่จะช่วยเหลือกันและกันในยามสงคราม ความสัมพันธ์ระหว่างน่านและสุโขทัยได้ดำเนินมาจนกระทั่งสุโขทัยผนวกเข้ากับ อยุธยา ในปี พ.ศ. 1981
เมืองน่านมีความสัมพันธ์ติดต่อค้าขายกับนครรัฐเล็กๆ รอบบ้าน เช่น หลวงพระบาง ล้านช้าง และสิบสองปันนา รัฐเหล่านี้มีความร่วมมือทางการเมืองอย่างเข้มแข็ง ทำการค้าขายกันตามเส้นทางแม่น้ำโขงด้วยคาราวานเกวียน
ก่อนหน้าที่น่านจะถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งชองล้านนาทั้งสองดินแดนมีความ สัมพันธ์กันผ่านการค้าวัวต่าง และเมื่อเชียงใหม่ตกเป็นประเทศราชของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองแห่งพม่า ในระหว่างปี พ.ศ.2096-2101 เจ้าพระยาพลเทพรือชัย เจ้าเมืองน่านได้หลบหนีไปยังเมืองหลวงพระบาง และน่านตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าจนกระทั่งสิ้นกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310
ระหว่างปีพ.ศ. 2101 - 2317 น่านพยายามต่อสู้เพื่ออิสรภาพจากพม่าหลายครั้ง ในปี พ.ศ. 2246 ถือว่าเป็นช่วงเวลาทุกข์เข็ญ ผู้คนต้องหลบหนีสงครามเข้าป่า บางคนถูกจับเป็นเชลยในพม่า ทั้งเมืองและวัดถูกเผาทำลายลง ในปี พ.ศ. 2331 เจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าหลวงเมืองน่าน หันมาสวามิภักดิ์กรุงเทพฯ (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1) เมื่อ พ.ศ.2333 น่านเริ่มนโยบาย "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" มีการอพยพ ชาวไทลื้อจำนวนมากกลับสู่เมืองน่าน
ในสมัยรัชกาลที่ 5 กรุงเทพฯถูกคุกคามจากลัทธิล่าอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสได้ก่อให้เกิด การปฏิรูปการปกครองหัวเมืองล้านนา เพื่อรวมศูนย์อำนาจที่ส่วนกลาง ตั้งแต่ พ.ศ.2435 รัฐบาลกลางกรุงเทพฯได้แต่งตั้งข้าหลวงเข้ามาแทนคณะขุนนางผู้ช่วยเจ้า ผู้ครองนครในการบริหารกิจการบ้านเมือง หลังจากเหตุการณ์ร.ศ.112 (พ.ศ.2436) ไทยต้องยอมเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแก่ฝรั่งเศส เมืองน่านจึงเพิ่มความสำคัญมากขึ้นในฐานะเมืองหน้าด่านติดกับเมืองหลวงพระ บางในลาว ซึ่งเป็นของฝรั่งเศส ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าเมืองน่านกับกรุงเทพฯดำเนินไปด้วยดี รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้แต่งตั้งเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชเป็นพระเจ้า สุริยพงษ์ผริตเดชเพื่อตอบแทนคุณงามความดีที่น่านช่วยกรุงเทพฯในสงครามปราบ กบฏที่เชียงตุง นครเมืองน่านกลายเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยอย่างสมบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 7 หลังจากเจ้ามหาพรหมสุรธาดาเจ้าเมืองน่านองค์สุดท้ายถึงแก่กรรมในปีพ.ศ. 2474 จึงยกเลิกระบบการปกครองโดยเจ้าผู้ครองนครนับแต่นั้นเป็นต้นมา
สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
วัดพระธาตุแช่แห้ง
ความเป็นมาตามพงศาวดารเมืองน่านเล่าว่า พระมหาธาตุเจ้าแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 1896 ในสมัยพญาการเมือง เจ้าผู้ครองเมืองวรนคร (อ.ปัว ในปัจจุบัน) ได้เสด็จไปร่วมพระราชกุศลกับพระมหาธรรมราชาลิไท ในการสร้างวัดหลวงอภัยขึ้นที่เมืองสุโขทัย เมื่อทรงสร้างเสร็จ พระเจ้ากรุงสุโขทัยได้ถวายพระมหาชินธาตุเจ้า 7 พระองค์ ลักษณะเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด มีวรรณสุกใสดั่งแก้ว 2 พระองค์ มีวรรณดั่งมุก 3 พระองค์ และมีลักษณะเท่าเมล็ดงาวรรณดั่งทองคำ 2 พระองค์ พระพิมพ์เงิน พิมพ์คำ (ทองคำ) อีกอย่างละ 20 องค์ ให้แก่พญาการเมือง พญาท้าวมีความปิติเป็นอย่างมาก จึงได้อัญเชิญพระมหาชินธาตุเจ้า พระพิมพ์เงิน พิมพ์คำ มายังดอยภูเพียงแช่แห้งประจุลงในเต้าปูนทองสำริด แล้วพอกด้วยสะตาย (ปูนขาวผสมยางไม้) กลเหมือนก้อนศิลา ขุดหลุมลึก 1 วา แล้วอาราธนาพระมหาชินธาตุเจ้าประดิษฐานในหลุมนั้น ก่อเจดีย์สูง 1 วา ทับไว้อีกชั้นหนึ่ง
การต่อมาหลังจากพญาการเมืองเสวยราชสมบัติที่เมืองวรนครได้อีก 6 ปี จึงได้ย้ายเมืองจาก วรนคร มาสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่ดอยภูเพียงแช่แห้ง และได้ปกครองอยู่ตราบสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พญาผากองโอรสของพญาการเมือง ทรงขึ้นครองราชย์แทนและได้ย้ายเมืองจากดอยภูเพียงแช่แห้ง ข้ามฝั่งแม่น้ำมาตั้งเมืองใหม่ขึ้นจวบจนถึงปัจจุบันนี้
อีกตำนานหนึ่งกล่าวว่า เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล สมเด็จพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน พระอรหันต์เจ้าทั้งหลายได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุข้อพระหัตถ์ซ้ายและเศษสรีรังคารธาตุ มาประดิษฐานไว้บนดอยภูเพียง เพื่อให้มนุษย์และเทวดาได้สักการบูชาตราบเท่า 5,000 พระวัสสา นอกจากนี้พระธาตุแช่แห้งมีความสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ เป็นพระธาตุประจำปีนักษัตรปีเถาะหรือปีกระต่าย ซึ่งผู้คนที่เกิดปีเถาะหรือผู้ที่นับถือจะมานมัสการพระธาตุแช่แห้งเพื่อความเป็นสิริมงคล
สิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษ พระธาตุแช่แห้งองค์พระธาตุส่องประกายสีทองสุกปลั่ง สามารถมองเห็นได้แต่ไกล เนื่องจากสูงถึง 2 เส้น ทรงระฆัง สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลมาจากเจดีย์พระธาตุหริภุญไชย วิหารมีองค์พระประธานที่เก่าแก่และมีศิลปะแบบล้านนา
งานเทศกาลประเพณีที่สำคัญ
• งานประเพณี “หกเป็งไหว้สาพระมหาธาตุแช่แห้ง” จัดขึ้นในวันขึ้น 9 – 15 ค่ำ เดือน 6 เหนือ ตรงกับเดือน 4 ภาคกลาง มีการถวายครัวตาน ปฏิบัติธรรมสวดเจริญพระพุทธมนต์ และจุดบ้องไฟดอก บ้องไฟขึ้นถวายเป็นพระพุทธบูชา
• อานิสงส์การบูชา จะเกิดบารมีได้รับการอุดหนุนค้ำชู การมีชื่อเสียง ลาภยศ สรรเสริญ ความมั่นคง
• พระครูวิสิฐนันทวุฒิ เจ้าคณะอำเภอภูเพียง (เจ้าอาวาสวัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง)
• คำไหว้องค์พระธาตุแช่แห้ง ตั้งนะโม 3 จบ "ยา ธาตุภูตา อะตุลานุภาวา จิรัง ปะติฏฐิตา นันทะถัปปะปุเร เทเวนะ คุตตา วะระพุทธะ ธาตุง จิรัง วันทามิ หันตัง ชินะธาตุโย โสตะถาคะตัง อะหัง วันทามิ สัพพะทา อะหัง วันทามิ ทูระโต ฯ"• พระธาตุแช่แห้ง รุ่นนครน่าน บุคคลทั่วไปเชื่อกันว่าเป็นพระที่ปกครองรักษาอันตรายต่างๆให้อยู่เย็นเป็นสุข
ความเป็นมาตามพงศาวดารเมืองน่านเล่าว่า พระมหาธาตุเจ้าแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 1896 ในสมัยพญาการเมือง เจ้าผู้ครองเมืองวรนคร (อ.ปัว ในปัจจุบัน) ได้เสด็จไปร่วมพระราชกุศลกับพระมหาธรรมราชาลิไท ในการสร้างวัดหลวงอภัยขึ้นที่เมืองสุโขทัย เมื่อทรงสร้างเสร็จ พระเจ้ากรุงสุโขทัยได้ถวายพระมหาชินธาตุเจ้า 7 พระองค์ ลักษณะเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด มีวรรณสุกใสดั่งแก้ว 2 พระองค์ มีวรรณดั่งมุก 3 พระองค์ และมีลักษณะเท่าเมล็ดงาวรรณดั่งทองคำ 2 พระองค์ พระพิมพ์เงิน พิมพ์คำ (ทองคำ) อีกอย่างละ 20 องค์ ให้แก่พญาการเมือง พญาท้าวมีความปิติเป็นอย่างมาก จึงได้อัญเชิญพระมหาชินธาตุเจ้า พระพิมพ์เงิน พิมพ์คำ มายังดอยภูเพียงแช่แห้งประจุลงในเต้าปูนทองสำริด แล้วพอกด้วยสะตาย (ปูนขาวผสมยางไม้) กลเหมือนก้อนศิลา ขุดหลุมลึก 1 วา แล้วอาราธนาพระมหาชินธาตุเจ้าประดิษฐานในหลุมนั้น ก่อเจดีย์สูง 1 วา ทับไว้อีกชั้นหนึ่ง
การต่อมาหลังจากพญาการเมืองเสวยราชสมบัติที่เมืองวรนครได้อีก 6 ปี จึงได้ย้ายเมืองจาก วรนคร มาสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่ดอยภูเพียงแช่แห้ง และได้ปกครองอยู่ตราบสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พญาผากองโอรสของพญาการเมือง ทรงขึ้นครองราชย์แทนและได้ย้ายเมืองจากดอยภูเพียงแช่แห้ง ข้ามฝั่งแม่น้ำมาตั้งเมืองใหม่ขึ้นจวบจนถึงปัจจุบันนี้
อีกตำนานหนึ่งกล่าวว่า เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล สมเด็จพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน พระอรหันต์เจ้าทั้งหลายได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุข้อพระหัตถ์ซ้ายและเศษสรีรังคารธาตุ มาประดิษฐานไว้บนดอยภูเพียง เพื่อให้มนุษย์และเทวดาได้สักการบูชาตราบเท่า 5,000 พระวัสสา นอกจากนี้พระธาตุแช่แห้งมีความสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ เป็นพระธาตุประจำปีนักษัตรปีเถาะหรือปีกระต่าย ซึ่งผู้คนที่เกิดปีเถาะหรือผู้ที่นับถือจะมานมัสการพระธาตุแช่แห้งเพื่อความเป็นสิริมงคล
สิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษ พระธาตุแช่แห้งองค์พระธาตุส่องประกายสีทองสุกปลั่ง สามารถมองเห็นได้แต่ไกล เนื่องจากสูงถึง 2 เส้น ทรงระฆัง สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลมาจากเจดีย์พระธาตุหริภุญไชย วิหารมีองค์พระประธานที่เก่าแก่และมีศิลปะแบบล้านนา
งานเทศกาลประเพณีที่สำคัญ
• งานประเพณี “หกเป็งไหว้สาพระมหาธาตุแช่แห้ง” จัดขึ้นในวันขึ้น 9 – 15 ค่ำ เดือน 6 เหนือ ตรงกับเดือน 4 ภาคกลาง มีการถวายครัวตาน ปฏิบัติธรรมสวดเจริญพระพุทธมนต์ และจุดบ้องไฟดอก บ้องไฟขึ้นถวายเป็นพระพุทธบูชา
• อานิสงส์การบูชา จะเกิดบารมีได้รับการอุดหนุนค้ำชู การมีชื่อเสียง ลาภยศ สรรเสริญ ความมั่นคง
• พระครูวิสิฐนันทวุฒิ เจ้าคณะอำเภอภูเพียง (เจ้าอาวาสวัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง)
• คำไหว้องค์พระธาตุแช่แห้ง ตั้งนะโม 3 จบ "ยา ธาตุภูตา อะตุลานุภาวา จิรัง ปะติฏฐิตา นันทะถัปปะปุเร เทเวนะ คุตตา วะระพุทธะ ธาตุง จิรัง วันทามิ หันตัง ชินะธาตุโย โสตะถาคะตัง อะหัง วันทามิ สัพพะทา อะหัง วันทามิ ทูระโต ฯ"• พระธาตุแช่แห้ง รุ่นนครน่าน บุคคลทั่วไปเชื่อกันว่าเป็นพระที่ปกครองรักษาอันตรายต่างๆให้อยู่เย็นเป็นสุข
วัดมิ่งเมือง
ความเป็นมาวัดมิ่งเมืองสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างมาพร้อมกับการสร้างย้ายเมืองน่านจากภูเพียงแช่แห้ง มาตั้งเมืองน่านใหม่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน คือ ที่ตั้งในปัจจุบัน แต่กลายเป็นวัดร้างต่อมาในปี 2400 พระเจ้าอนันตวรฤทธิเดช ผู้ครองนครน่านเกิดศรัทธากับการสถาปนาวัดใหม่ขึ้นในพื้นที่วัดร้างเดิม และได้เสด็จถวายสักการะบวงสรวงเสาหลักเมืองใกล้กับวัดร้างดังกล่าว “วัดมิ่งเมือง”
• นอกจากนี้ ท่านเจ้าอาวาสวัดมิ่งเมืองได้ให้ข้อมูลว่าวัดมิ่งเมือง เดิมมีชื่อเรียกตามที่ปรากฏบนแผ่นทองคำจารึกอักษรพม่าว่า “วัดตะละแม่ศรี” ซึ่งเป็นชื่อของผู้สร้างวัด มีนามว่า เจ้านางตะละแม่ศรี เป็นพระมเหสีของพ่อขุนเม็งรายมหาราช มหากษัตริย์แห่งแคว้นล้านนาผู้สร้างเมืองเชียงราย เจ้านางตะละแม่ศรีทรงมีอีกพระนามหนึ่งที่ปรากฏในแผ่นจารึกคือ มหาเทวีอุษาปายะโค พระนางเป็นธิดาของพระเจ้าพายุเจ็ง กษัตริย์พม่า เจ้าเมืองพะโค (หงสาวดี) ซึ่งได้มอบถวายให้เป็นข้าบาทบริจาริกาแด่พ่อขุนเม็งรายมหาราช เมื่อทรงชนะสงครามจากพม่า และวัดแห่งนี้ยังเป็นวัดประจำพระองค์ของพระนางอั๊วะมิ่งจอมเมือง (พระนางเทพคำกล๋าย – พระนางอั๊วะมิ่งไข่ฟ้า หรือพระนางอกแอ่น ซึ่วเป็นวีรสตรีของชาวไทยลื้อที่ได้ปลอมตัวเป็นชายออกรบจนได้รับชัยชนะ) พระนางอั๊วะมิ่งจอมเมือง ทรงเป็นพระราชชนนีของพ่อขุนเม็งรายมหาราช พระนางจะเสด็จมาทรงปฏิบัติธรรมที่วัดแห่งนี้เป็นประจำ และในตำนานวัดที่ปรากฏในรัชสมัยของพ่อขุนเม็งรายมหาราช พระนางจะเสด็จมาประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาที่สัดมิ่งเมืองปีละสองครั้ง คือ ในคืนวันเพ็ญวิสาขบูชา ขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 และในคืนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งตรงกับวันลอยกระทง หรือประเพณียี่เป็งของชาวล้านนา ทรงจุดผางประทีปบูชาพระเจดีย์ศรีมิ่งเมืองในวัด ซึ่งปัจจุบันเป็นที่บรรจุพระอัฐิของพระนางเทพคำกล๋ายและพระอัฐิของมหาเทวีอุษาปายะโค
สิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษองค์พระประธาน เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ลงรักปิดทองทั้งองค์ เป็นศิลปะเชียงแสน มีอายุถึง 400 กว่าปี ซึ่งมีนามว่า “หลวงพ่อพระศรีมิ่งเมือง” ที่มีพุทธลักษณะที่งดงามตามพุทธศิลป์แบบเชียงแสน โดยเฉพาะที่ยอดพระเกตุโมฬีเป็นรูปดอกบัวตูม แกะสลักจากหินแก้วเจีย หรือแก้วโป่งขาม ซึ่งเป็นหินที่เกิดขึ้นในดินแดนล้านนาเท่านั้น
เจดีย์ เป็นปูชนียสถานเก่าแก่ ที่มีคู่มากับวัด เป็นศิลปะแบบล้านนา เดิมก่อนการบูรณะเป็นรูปทรงพม่า วิหารเป็นวิหารไทใหญ่ประยุกต์ผสมผสานกับรูปแบบของวิหารล้านนา ภายในตกแต่งด้วยลวดลายแกะสลัก ลงรักปิดทอง ประกอบกับการกรุฝ้าเพดานแบบ ไตรภูมิและบาลีรูปหงส์เป็นจำนวน 34 ตัว บ่อน้ำชาวบ้านทั่วไปเรียกบ่อน้ำนี้ว่า “บ่อน้ำช้างมูบ”
อุโบสถ ลักษณะเด่นคือ ลายปูนปั้นที่ผนังด้านนอกของพระอุโบสถ เป็นฝีมือตระกูลช่างเชียงแสน มีความวิจิตรงดงามมาก ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงให้เห็นวิถีชีวิตของชาวเมืองน่าน เป็ฯฝีมือช่างท้องถิ่นยุคปัจจุบัน และบริเวณวัดยังเป็นที่ประดิษฐานเสาหลักเมือง ซึ่งอยู่ในศาลาจัตุรมุขด้านหน้าพระอุโบสถ เสาหลักเมืองสูงประมาณ 3 เมตร ฐานประดับด้วยไม้แกะลวดลายลงรักปิดทอง ยอดเสาแกะสลักเป็นรูปพรหมพักตร์มีชื่อ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
คำเชิญขึ้นถวายสักการะหลักเมืองน่านตามทิศอันเป็นอุดมมงคล ดังนี้
• ทิศเหนือ พระเมตตา ท่านท้าวเวสสุวรรณผู้รักษา มีอำนาจ มีบารมี มีความมั่นคง มีความกล้าแข็ง เข้มแข็ง เป็นที่เคารพเกรงขาม
• ทิศตะวันออก พระกรุณา ท่านท้าวธะตะรัฏฐะผู้รักษา มีเสน่ห์ เมตตามหานิยม เป็นที่รักเป็รที่ปรารถนาและชื่นชอบของคนและเทวดา
• ทิศใต้ พระมุทิตา ท่านท้าววิรุฬหะกะผู้รักษา มีความมั่งคั่ง ร่ำรวย อุดมสมบูรณ์ทั้งทรัพย์สมบัติ ชื่อเสียง เกียรติยศ และบริวาร
• ทิศตะวันตก พระอุเบกขา ท่านท้าววิรูปักษ์ผู้รักษา มีความสงบร่มเย็นเป็นสุข มีสันติภาพ ภราดรภาพ เป็นที่เคารพนับถือ เชื่อถือ วันทามิ ทูระโต ฯ
งานเทศกาล ประเพณีที่สำคัญ
• งานบวงสรวงหลักเมือง กำหนดการจัดงานประจำปีวันที่ 15 เมษายน 2554 ณ วัดมิ่งเมือง
• อานิสงส์การบูชา จะเกิดบารมีด้านการเป็นปราชญ์ มีความรู้ มีชัยชนะ ปลอดภัยจากอุปสรรคต่างๆ
• พระครูสิริธรรมภาณี เจ้าคณะอำเภอเมืองน่าน (เจ้าอาวาสวัดมิ่งเมือง)
• พระยอดขุนพลนครน่าน รุ่นทูลเกล้า บุคคลทั่วไปเชื่อกันว่าเป็นพระที่มีความชนะปลอดภัยจากอุปสรรค์ต่างๆ
วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
ตั้งอยู่ที่ถนนสุริยพงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน (ตรงข้ามพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติน่าน)
ความเป็นมาและความสำคัญ เดิมเรียก “วัดหลวง” หรือ “วัดหลวงกลางเวียง” สร้างขึ้นในสมัยเจ้าปู่แข็ง พ.ศ. ๑๙๓๙ เป็นวัดหลวงในเขตนครน่าน สำหรับเจ้าผู้ครองนครใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญทางพุทธศาสนาและพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาตามศิลาจารึกหลักที่ ๗๔ ซึ่งถูกค้นพบภายในวัดกล่าวว่า พญาพลเทพฤ ชัย เจ้าเมืองน่านได้ปฏิสังขรณ์บูรณะวิหารวัดหลวงเมื่อ พ.ศ.๒๐๙๑ ลักษณะสถาปัตยกรรมของวัดพระธาตุช้างค้ำนี้สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย อาทิ เจดีย์ทรงลังกา (ทรงระฆัง) รอบฐานองค์เจดีย์ก่ออิฐถือปูนและปั้นเป็นรูปช้างครึ่งตัว ด้านละ ๕ เชือกและที่มุมอีก ๔ เชือกดูคล้ายจะเอาหลังหนุน หรือ ค้ำองค์เจดีย์ไว้ ลักษณะคล้ายวัดช้างล้อม และภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดยืนปางประทานอภัย อายุราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ตรงกับสมัยสุโขทัยตอนปลาย มีพระประธานเป็นปูนปั้นขนาดใหญ่ศิลปะเชียงแสน ฝีมือสกุลช่างน่าน ที่มีพุทธลักษณะงดงามยิ่งของเมืองน่าน
• เจดีย์ทรงลังกา สถาปัตยกรรมของวัดพระธาตุช้างค้ำนี้ สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย อาทิ เจดีย์ทรงลังกา (ทรงระฆัง) รอบฐานองค์พระเจดีย์ก่ออิฐถือปูนและปั้นเป็นรูปช้างครึ่งตัว ด้านละ ๕ เชือกมุมทั้งสี่อีก ๔ เชือก ดูคล้ายจะเอาหลังหนุน หรือ ค้ำ องค์เจดีย์
• พระพุทธรูป องค์ใหญ่และมีความสวยงามเป็นที่สักการะของชางน่านและพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป
งานเทศกาล ประเพณีที่สำคัญ
• งานสรงน้ำพระธาตุ (กำหนดจัดขึ้นในวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔)
• งานตานสลากภัตร (กำหนดจัดขึ้นในวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๔)
• อานิสงส์การบูชา จะเกิดบารมีด้านชะตาชีวิต การมีความเป็นอยู่ที่ดี และมั่งคง
• พระธรรมนันทโสภณ เจ้าคณะจังหวัดน่าน (เจ้าอาวาสวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร)
• คำไหว้องค์พระธาตุช้างค้ำ ตั้งนะโม ๓ จบ "อิมัสะมิ๋ง นันทะปุระภิรัมเม ปะติฏฐิตัง ชินะปะระมะธาตุยา ฐะปะนัง หัตถิถัมภะ วะระธาตุเจติยัง อะหัง วันทามิ สัพพะทา"
• พระเจ้าหลวง รุ่นวัดช้างค้ำ บุคคลทั่วไปเชื่อกันว่าเป็นพระที่มีความมั่นคงค้ำชะตาชีวิต
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา
ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ 8 อำเภอ คือ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอปัว อำเภอท่าวังผา อำเภอสันติสุข อำเภอแม่จริมและอำเภอบ่อเกลือ มีพื้นที่ประมาณ 1,065,000 ไร่ เป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่มีทั้งพืชพรรณและสัตว์ป่าที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์ รวมทั้งเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย เช่น แม่น้ำน่าน ลำน้ำปัว ลำน้ำว้า ที่คอยหล่อเลี้ยงชีวิตของชาวจังหวัดน่าน และยังมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ กล่าวคือ เป็นที่เชื่อกันว่าเทือกเขาดอยภูคาเป็นเมืองเก่าของบรรพบุรุษของคนเมืองน่านและในปัจจุบันนี้ก็ยังมีศาลเจ้าพ่อภูคา ตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 31 ถนนสายปัง-บ่อเกลือ อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดน่านและบุคคลทั่วไป
ปี พ.ศ.2526 ราษฎรของ จ.น่าน ได้เห็นความสำคัญที่จะอนุรักษ์ป่าต้นน้ำลำธารเพื่อป้องกันการบุกรุกทำลาย จึงได้มีหนังสือถึงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้กำหนดป่าดอยภูคา อ.ปัว ให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ ต่อมาได้ประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกาแนวเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคาเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2542 อีกทั้งภายในบริเวณพื้นที่ก็ยังมีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย อาทิ ถ้ำ น้ำตก ล่องแก่งต่างๆและต้นชมพูภูคา ซึ่งเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของคนทั้งประเทศและต่างประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศ : สภาพภูมิประเทศดอยภูคา ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน มีพื้นราบตามแนวรอบอุทยานฯ ความสูงของพื้นที่จากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 800 เมตร และบริเวณยอดเขาดอยภูคามีความสูงถึง 1,980 เมตร สภาพป่าทั่วไป บางส่วนยังมีความอุดมสมบูรณ์ บางส่วนเป็นพื้นที่ทำกินดั้งเดิมของชาวเขาที่อยู่อาศัยอยู่ในและรอบเขตอุทยานฯ
ลักษณะภูมิอากาศ : โดยทั่วไปภายในเขตอุทยานฯดอยภูคา มี 3 ฤดู คือ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-เดือนตุลาคม ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม-เดือนกุมภาพันธ์ ส่วฤดูร้อนเป็นช่วงสั้นๆคือเดือนมีนาคม-เมษายน แต่อากาศบนดอยภูคาจะเย็นสบาย
ชนิดของป่าไม้ : ป่าดอยภูคา สามารถจำแนกประเภทป่าออกได้เป็น 6 ประเภท คือ
• ป่าดิบเขา เป็นป่าที่สมบูรณ์ มีประมาณร้อยละ 25 ของพื้นที่ทั้งหมด
• ป่าดิบแล้ง เป็นป่าสมบูรณ์มักอยู่ตามริมแม่น้ำลำธาร มีพื้นที่ร้อยละ 30 ของพื้นที่
• ป่าเบญจพรรณ มีกระจัดกระจายตามที่ราบริมขอบเขตและตามพื้นที่ลาดชันน้อย มีพื้นที่ร้อยละ 25 ของพื้นที่
• ป่าเต็งรังเป็นป่าที่อยู่บริเวณพื้นที่ลาดเขาและบนดอยภูคาในพื้นที่บางจุด มีพื้นที่ร้อยละ 20
• ป่าสนธรรมชาติ มีขึ้นอยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ ในพื้นที่ทางตอนใต้ของอุทยานฯ บริเวณบนดอยภูหวด
• ทุ่งหญ้า มีอยู่กระจัดกระจาย ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกิดจากการบุกรุกทำลายถางป่าเพื่อทำไร่หมุนเวียนขอชาวเขามาก่อน มีพื้นที่ร้อยละ 9
• แหล่งน้ำและสัตว์ป่า : ป่าดอยภูคาเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีภูเขาสลับซับซ้อน และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารชั้น1A เป็นแหล่งที่กำเนิดลำน้ำสำคัญหลายสายที่ไหลไปบรรจบกันเป็นแม่น้ำน่าน ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่สายที่รวมกันเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา มีทุ่งหญ้าธรรมชาติที่เป็นแหล่งอาหารอันอุดมสมบูรณ์ของสัตว์ป่า เช่น เก้ง กวาง หมูป่า เลียงผา ค่าง หมี ลิง ชะนี และนกนานาชนิด
จุดเด่นที่น่าสนใจของดอยภูคา
• ต้นชมพูภูคา เป็นพรรณไม้ที่มีชนิดเดียวในโลก ในประเทศไทยพบเพียงที่เดียวที่ป่าอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ต้นชมพูภูคา เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงถึง 25 เมตร เปลือกเรียบ สีเทาอ่อน ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม
• เต่าร้างยักษ์ (เต่าร้างน่านเจ้า) เป็นไม้เฉพาะถิ่นของดอยภูคา จัดเป็นประเภทปาล์มลำต้นเดี่ยว สูงประมาณ 40 เมตร ยังไม่มีรายงานว่าพบที่ใดในโลก
• ก่วมภูคา เป็นพรรณไม้ที่พบครั้งแรกในประเทศไทย จัดเป็นไม้ผลัดใบ พืชวงศ์เดียวกับเมเปิ้ล ลำต้นสูงประมาณ 15 - 20 เมตร ใบอ่อนสีแดงเว้า 5 แฉก ใบแก่สีเขียว 3 แฉก นอกจากนี้ยังมีพรรณไม้หายาก อาทิ จำปีช้าง ไข่นกคุ้ม ค้อเชียงดาว โลดทะนงเหลือง ขาวละมุน เทียนดอย เสี้ยวเครือ มะลิหลวง สาลี่หนุ่ม เหลือละมุน กุหลาบขาวเชียงดาว ฯลฯ
• ถ้ำผาแดง, ถ้ำผาผึ้ง เป็นถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยอันความสวยงามและยังมีลำธาร น้ำตกภายในถ้ำด้วย เป็นถ้ำที่ยาวมากที่สุดในอุทยานฯ ตั้งอยู่ในบริเวบ้านมณีพฤกษ์ อ.ทุ่งช้าง
• ถ้ำผาฆ้อง เป็นถ้ำขนาดกลาง ปากถ้ำจะมีขนาดเล็ก ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยอันสวยงามและลำธารไหลผ่าน ในช่วงฤดูฝนไม่สามารถเข้าไปเที่ยวได้เพราะภายในถ้ำอาจมีน้ำท่วม อย่ระหว่างทางขึ้นอุทยานฯ
• น้ำตกต้นตอง เป็นน้ำตกหินปูน ขนาดกลาง มี 3 ชั้น สูงประมาณ 60 เมตร อยู่บริเวณใกล้ๆที่ทำการอุทยานฯ
• น้ำตกวังเปียน อยู่ใกล้กับหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคาที่ 8 (บ้านห้วยโกร๋น) เขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
• จุดชมวิวลานดูดาว เป็นจุดกางเต้นท์พักแรมและชมทะเลหมอกยามเช้า ซึ่งท่านสามารถชมวิวทิวทัศน์ของขุนเขา
• เส้นทางศึกษาธรรมชาติ บริเวณที่ทำการอุทยานฯ มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติให้ท่านได้เดินเที่ยวชมพันธุ์ไม้ บรรยากาศสวยครับ
• ล่องแก่งน้ำว้าตอนกลาง ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา เป็นเส้นทางล่องแก่งน้ำว้าระดับ 3 - 5 ประมาณ 20 กว่าแก่ง ต้องใช้เวลากับกรพักแรมกลางป่าระหว่างการล่องแก่งด้วย ซึ่งลำน้ำว้าเกิดจากเทือกเขาในเขตอุทยานขุนน่าน ไหลผ่านพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ผ่านอุทยานแห่งชาติแม่จริม ก่อนที่จะไหลไปรวมกับแม่น้ำน่านครับ
• ดอยภูแว เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ยอดดอยมีความสูง 1,837 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีลักษณะเป็นทุ่งหญ้า ลานหิน หน้าผา และพันธุ์ไม้ที่สำคัญ อาทิ ดอกกุหลาบพันปี ค้อ ทุ่งดอกไม้ เป็นสถานที่ชมวิวทิวทัศน์และทะเลหมอกอันสวยงาม การเดินทางสู่ดอยภูแวต้องเดินเท้าเป็นระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร มีลูกหาบไว้คอยบริการ
• บ้านมณีพฤกษ์ อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา เขต อ.ทุ่งช้าง เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง มีโครงการปลูกดอกไม้ พืชผักเมืองหนาว ดำเนินการโดยโครงการพัฒนาต้นน้ำ และจัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ มีถ้ำต่างๆมากมาย ฐานปฎิบัติการทางทหาร และมีต้นชมพูภูคามากกว่าทางด้านที่ทำการอุทยานฯ
อุทยานแห่งชาติศรีน่าน
ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งขวาของแม่น้ำน่านตอนใต้ ป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยงวง ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำว้าและป่าห้วยสาลี ครอบคลุมพื้นที่ 7 ตำบล 3 อำเภอ คือ ตำบลส้าน และตำบลน้ำมาบ อำเภอเวียงสา ตำบลศรีษะเกษ ตำบลเชียงของ และตำบลสถาน อำเภอนาน้อย ตำบลบ่อแก้ว และตำบลนาทะนุง อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน อุทยานแห่งชาติศรีน่าน มีพื้นที่ประมาณ 934 ตารางกิโลเมตร หรือ 583,750 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
• สภาพภูมิประเทศ เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน วางตัวในแนวทิศเหนือ-ใต้ ขนานกันทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก บริเวณที่ราบลุ่มตรงกลางจะมีลักษณะเป็นภูเขาน้อยใหญ่ลดหลั่นกันลงไป ตอนกลางของพื้นที่มีแม่น้ำน่านทอดตัวไหลผ่านจากเหนือสุด-ใต้สุด ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร แบ่งอุทยานออกเป็นซีกตะวันตกและซีกตะวันออก ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ ดอยคำ สูง 1,229 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง นอกจากนี้ยังมีดอยจำลึก ดอยไหว ดอยสุไข ดอยจำปูหลวงแก้ว ดอยหวดและดอยภูหลักหมื่น เป็นต้น
ลักษณะภูมิอากาศ
• สภาพอากาศ ค่อนข้างเย็นในช่วงฤดูหนาว และจะมีเมฆมากในช่วงฤดูฝน ประมาณเดือนกรกฎาคม-กันยายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 24 องศาเซลเซียส
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
• เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนมีความสูงต่างกันหลายระดับ จึงทำให้มีสภาพป่าหลายชนิด เช่น
• ป่าดิบเขา พบตามแนวสันเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตร พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ไม้ก่อต่างๆ ตะเคียน กระบาก ไม้พื้นล่างประกอบด้วยพืชในตระกูลปาล์ม ขิง ข่า และเฟิร์น
• ป่าดิบแล้ง พบตามหุบเขาและริมห้วย ในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 500-1,000 เมตร พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยาง กระบก แดง เหียง
• ป่าสน พบเป็นหย่อมๆตามแนวสันเขาที่มีความสูงระหว่าง 500-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล
• ป่าเบญจพรรณ พบขึ้นตามที่ราบเชิงเขา ริมห้วยและหุบเขา กระจัดกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ไม้สัก ชิงชัน ประดู่ ตะเคียนทอง มะค่าโมง ฯลฯ
• ป่าเต็งรัง พบขึ้นอยู่ตามไหล่เขา เชิงเขา และพื้นที่ค่อนข้างราบ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง เหียง เป็นต้น
• สัตว์ป่า ที่พบมี ช้าง วัวแดง กระทิง ซึ่งสัตว์ทั้ง 3 ชนิดนี้จะอพยพข้ามไปมาในเขตติดต่อระหว่างประเทศไทยและลาว นอกจากนี้ยังมีหมี เลียงผา กวาง เก้ง เสือ หมูป่า หมาป่า กระจง อีเห็น ไก่ฟ้า ตะกวด เต่า นกยูง นกนานาชนิดและงูชนิดต่างๆ
ลักษณะภูมิประเทศ
• สภาพภูมิประเทศ เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน วางตัวในแนวทิศเหนือ-ใต้ ขนานกันทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก บริเวณที่ราบลุ่มตรงกลางจะมีลักษณะเป็นภูเขาน้อยใหญ่ลดหลั่นกันลงไป ตอนกลางของพื้นที่มีแม่น้ำน่านทอดตัวไหลผ่านจากเหนือสุด-ใต้สุด ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร แบ่งอุทยานออกเป็นซีกตะวันตกและซีกตะวันออก ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ ดอยคำ สูง 1,229 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง นอกจากนี้ยังมีดอยจำลึก ดอยไหว ดอยสุไข ดอยจำปูหลวงแก้ว ดอยหวดและดอยภูหลักหมื่น เป็นต้น
ลักษณะภูมิอากาศ
• สภาพอากาศ ค่อนข้างเย็นในช่วงฤดูหนาว และจะมีเมฆมากในช่วงฤดูฝน ประมาณเดือนกรกฎาคม-กันยายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 24 องศาเซลเซียส
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
• เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนมีความสูงต่างกันหลายระดับ จึงทำให้มีสภาพป่าหลายชนิด เช่น
• ป่าดิบเขา พบตามแนวสันเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตร พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ไม้ก่อต่างๆ ตะเคียน กระบาก ไม้พื้นล่างประกอบด้วยพืชในตระกูลปาล์ม ขิง ข่า และเฟิร์น
• ป่าดิบแล้ง พบตามหุบเขาและริมห้วย ในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 500-1,000 เมตร พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยาง กระบก แดง เหียง
• ป่าสน พบเป็นหย่อมๆตามแนวสันเขาที่มีความสูงระหว่าง 500-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล
• ป่าเบญจพรรณ พบขึ้นตามที่ราบเชิงเขา ริมห้วยและหุบเขา กระจัดกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ไม้สัก ชิงชัน ประดู่ ตะเคียนทอง มะค่าโมง ฯลฯ
• ป่าเต็งรัง พบขึ้นอยู่ตามไหล่เขา เชิงเขา และพื้นที่ค่อนข้างราบ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง เหียง เป็นต้น
• สัตว์ป่า ที่พบมี ช้าง วัวแดง กระทิง ซึ่งสัตว์ทั้ง 3 ชนิดนี้จะอพยพข้ามไปมาในเขตติดต่อระหว่างประเทศไทยและลาว นอกจากนี้ยังมีหมี เลียงผา กวาง เก้ง เสือ หมูป่า หมาป่า กระจง อีเห็น ไก่ฟ้า ตะกวด เต่า นกยูง นกนานาชนิดและงูชนิดต่างๆ
จุดเด่นที่น่าสนใจ
• เสาดินและคอกเสือ เกิดจากการพังทลายของดินเป็นพื้นที่กว้างประมาณ 20 ไร่ กระจัดกระจายไปตามสภาพพื้นที่ โดยมีป่าเต็งรังขึ้นอยู่ประปราย ลักษณะของเสาดินคล้ายแกรนด์แคนยอน เหมือนกับแพะเมืองผีของจังหวัดแพร่ เสาดินและคอกเสือตั้งอยู่ที่ตำบลเชียงของ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ไปตามเส้นทาง เวียงสา-นาน้อย ประมาณ 5 กิโลเมตร
• ปากนาย เกิดจากสภาพป่าที่ถูกน้ำเหนือเขื่อนสิริกิติ์ท่วมถึง มีขนาดกว้างใหญ่ที่สุดในจังหวัดน่าน มีหมู่บ้านชาวประมงน้ำจืดอาศัยอยู่ สภาพทิวทัศน์สวยงามมากแห่งหนึ่ง ระยะทางเข้าจากกิ่งอำเภอนาหมื่นไปประมาณ 22 กิโลเมตร มีบ้านพักของอบต.นาหมื่นและแพพักของเอกชน รวมทั้งร้านอาหารกลางแพ มีปลาสดๆ กุ้งแม่น้ำ จากเขื่อนสิริกิตติ์ ท่านสามารถสั่งมาทานกันได้
• แก่งหลวง เกิดจากแนวหินน้อยใหญ่ที่กระจัดกระจายอยู่ในแม่น้ำน่าน รวมทั้งโขดหินและหน้าผา ยามหน้าน้ำจะมีเสียงน้ำกระทบโขดหินดังกึกก้อง ยามหน้าแล้งจะมองเห็นแนวโขดหินอย่างสวยงาม การเดินทางให้ไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1083 (นาน้อย-ปางไฮ) จากปากทางถึงแก่งหลวงประมาณ 35 กิโลเมตร
• จุดชมวิวผาชู้ เป็นจุดชมวิวที่ติดกับถนนที่เป็นหน้าผาใหญ่โดดเด่น สามารถมองเห็นทิวทัศน์และแม่น้ำน่านที่ทอดตัวคดเคี้ยวไปตามที่ราบลุ่มอย่างงดงาม การเดินทางให้ไปตามเส้นทางเดียวกับทางไปแก่งหลวง แต่ถึงก่อนแก่งหลวง จะมองเห็นวิวทิวทัศน์ของแม่น้ำน่านและสภาพป่าไม้ที่สวยงามตลอดจนโขดหินและหน้าผาต่างๆ
• จุดชมวิวดอยเสมอดาวและผาหัวสิงห์ เป็นจุดที่ชมทะเลหมอกและพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้า ซึ่งท่านสามารถมองเห็นได้รอบทิศทาง เห็นวิวทิวทัศน์ของแม่น้ำน่านที่ทอดยาวในหุบเขาและเห็นยอดผาชู้ที่ตั้งตระหง่านอยู่ข้างหน้ารวมทั้งมองเห็นบ้านพักและที่ทำการอุทยานฯ ในตอนเย็นท่านสามารถมองเห็นพระอาทิตย์ตกได้ด้วยและสามารถมองเห็นตัวเมืองนาน้อย ไร่ นา ของชาวบ้าน (สวยครับ)
• เส้นทางศึกษาธรรมชาติ บริเวณดอยเสมอดาวมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติให้ท่านได้เดินเที่ยวชมกัน บรรยากาศสวยงาม
• ตำนานผาชู้ เจ้าเอื้องผึ้งซึ่งเป็นคู่รักกับเจ้าจันทน์ผา จำใจต้องแต่งงานกับเจ้าจ๋วง เจ้าเอื้องผึ้งเสียใจที่ไม่ได้แต่งงานกับคนที่ตัวเองรัก จึงตัดสินใจฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดจากหน้าผา เจ้าจันทน์ผาตามมาพบว่า เจ้าเอื้องผึ้งได้กระโดด หน้าผาไปแล้ว จึงกระโดดหน้าผาฆ่าตัวตายตามคนรักตกไปอยู่ใกล้กันและเจ้าจ๋วงได้เห็นหญิงที่ตนรักกระโดด หน้าผาไป จึงรู้สึก เสียใจและตัดสินใจกระโดดหน้าผาตามลงไปด้วยแต่กระเด็นห่างออกไปด้วยความรักแท้ ระหว่างเจ้าเอื้องผึ้งและเจ้าจันทน์ผา ในชาติต่อมาเจ้าเอื้องผึ้งจึงเกิดเป็นดอกกล้วยไม้เกาะอยู่ใต้ต้นจันทน์ผา และเจ้าจ๋วงก็เกิดเป็นต้นสนณ จุดที่ตกไปนั้นเอง
• เสาดินและคอกเสือ เกิดจากการพังทลายของดินเป็นพื้นที่กว้างประมาณ 20 ไร่ กระจัดกระจายไปตามสภาพพื้นที่ โดยมีป่าเต็งรังขึ้นอยู่ประปราย ลักษณะของเสาดินคล้ายแกรนด์แคนยอน เหมือนกับแพะเมืองผีของจังหวัดแพร่ เสาดินและคอกเสือตั้งอยู่ที่ตำบลเชียงของ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ไปตามเส้นทาง เวียงสา-นาน้อย ประมาณ 5 กิโลเมตร
• ปากนาย เกิดจากสภาพป่าที่ถูกน้ำเหนือเขื่อนสิริกิติ์ท่วมถึง มีขนาดกว้างใหญ่ที่สุดในจังหวัดน่าน มีหมู่บ้านชาวประมงน้ำจืดอาศัยอยู่ สภาพทิวทัศน์สวยงามมากแห่งหนึ่ง ระยะทางเข้าจากกิ่งอำเภอนาหมื่นไปประมาณ 22 กิโลเมตร มีบ้านพักของอบต.นาหมื่นและแพพักของเอกชน รวมทั้งร้านอาหารกลางแพ มีปลาสดๆ กุ้งแม่น้ำ จากเขื่อนสิริกิตติ์ ท่านสามารถสั่งมาทานกันได้
• แก่งหลวง เกิดจากแนวหินน้อยใหญ่ที่กระจัดกระจายอยู่ในแม่น้ำน่าน รวมทั้งโขดหินและหน้าผา ยามหน้าน้ำจะมีเสียงน้ำกระทบโขดหินดังกึกก้อง ยามหน้าแล้งจะมองเห็นแนวโขดหินอย่างสวยงาม การเดินทางให้ไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1083 (นาน้อย-ปางไฮ) จากปากทางถึงแก่งหลวงประมาณ 35 กิโลเมตร
• จุดชมวิวผาชู้ เป็นจุดชมวิวที่ติดกับถนนที่เป็นหน้าผาใหญ่โดดเด่น สามารถมองเห็นทิวทัศน์และแม่น้ำน่านที่ทอดตัวคดเคี้ยวไปตามที่ราบลุ่มอย่างงดงาม การเดินทางให้ไปตามเส้นทางเดียวกับทางไปแก่งหลวง แต่ถึงก่อนแก่งหลวง จะมองเห็นวิวทิวทัศน์ของแม่น้ำน่านและสภาพป่าไม้ที่สวยงามตลอดจนโขดหินและหน้าผาต่างๆ
• จุดชมวิวดอยเสมอดาวและผาหัวสิงห์ เป็นจุดที่ชมทะเลหมอกและพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้า ซึ่งท่านสามารถมองเห็นได้รอบทิศทาง เห็นวิวทิวทัศน์ของแม่น้ำน่านที่ทอดยาวในหุบเขาและเห็นยอดผาชู้ที่ตั้งตระหง่านอยู่ข้างหน้ารวมทั้งมองเห็นบ้านพักและที่ทำการอุทยานฯ ในตอนเย็นท่านสามารถมองเห็นพระอาทิตย์ตกได้ด้วยและสามารถมองเห็นตัวเมืองนาน้อย ไร่ นา ของชาวบ้าน (สวยครับ)
• เส้นทางศึกษาธรรมชาติ บริเวณดอยเสมอดาวมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติให้ท่านได้เดินเที่ยวชมกัน บรรยากาศสวยงาม
• ตำนานผาชู้ เจ้าเอื้องผึ้งซึ่งเป็นคู่รักกับเจ้าจันทน์ผา จำใจต้องแต่งงานกับเจ้าจ๋วง เจ้าเอื้องผึ้งเสียใจที่ไม่ได้แต่งงานกับคนที่ตัวเองรัก จึงตัดสินใจฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดจากหน้าผา เจ้าจันทน์ผาตามมาพบว่า เจ้าเอื้องผึ้งได้กระโดด หน้าผาไปแล้ว จึงกระโดดหน้าผาฆ่าตัวตายตามคนรักตกไปอยู่ใกล้กันและเจ้าจ๋วงได้เห็นหญิงที่ตนรักกระโดด หน้าผาไป จึงรู้สึก เสียใจและตัดสินใจกระโดดหน้าผาตามลงไปด้วยแต่กระเด็นห่างออกไปด้วยความรักแท้ ระหว่างเจ้าเอื้องผึ้งและเจ้าจันทน์ผา ในชาติต่อมาเจ้าเอื้องผึ้งจึงเกิดเป็นดอกกล้วยไม้เกาะอยู่ใต้ต้นจันทน์ผา และเจ้าจ๋วงก็เกิดเป็นต้นสนณ จุดที่ตกไปนั้นเอง
สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอเมือง
วัดพระบรมธาตุแช่แห้ง เป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ตั้งอยู่บนเนินทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน บริเวณที่เป็นศูนย์กลางเมืองน่านเดิม หลังจากที่ย้ายมาจากเมืองปัว วัดพระบรมธาตุแช่แห้งสร้างในสมัยเจ้าพระยาการเมือง (เจ้าผู้ครองนครน่านระหว่าง พ.ศ.๑๘๖๙-๑๙๐๒) เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระมหาชินธาตุเจ้า ๗ พระองค์ พระพิมพ์เงินและพระพิมพ์ทอง ที่ได้รับพระราชทานจากพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งที่เจ้าพระยาการเมืองเสด็จไปช่วยสร้างวัดหลวงอภัย (วัดป่ามะม่วง จังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน) เมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๗ องค์พระธาตุเป็นเจดีย์ทรงระฆัง รูปแบบของพระธาตุแช่แห้งสันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากเจดีย์พระธาตุหริภุญไชย โดยรอบองค์บุด้วยทองจังโก (ทองดอกบวบ ทองเหลืองผสมทองแดง) ทางขึ้นสู่องค์พระธาตุเป็นตัวพญานาค หน้าบันเหนือประตูทางเข้าพระวิหารเป็นปูนปั้นลายนาคเกี้ยว ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของศิลปกรรมเมืองน่าน พระบรมธาตุแช่แห้งเป็นพระธาตุประจำปีเถาะ ชาวล้านนาเชื่อว่า หากได้เดินทางไป “ชุธาตุ” หรือนมัสการพระธาตุประจำปีเกิดจะได้รับอานิสงส์อย่างยิ่ง นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมวัดพระธาตุแช่แห้งได้ทุกวัน ระหว่างเวลา ๐๖.๐๐-๑๘.๐๐ น.
การเดินทาง วัดพระบรมธาตุแช่แห้ง ตั้งอยู่ที่ตำบลม่วงตึ๊ด จากตัวเมืองข้ามสะพานแม่น้ำน่าน ไปตามเส้นทางสายน่าน-แม่จริม หรือทางหลวงหมายเลข ๑๑๖๘ ประมาณ ๓ กิโลเมตร โทร 0 5475 1846
วัดภูมินทร์ เป็นวัดหลวง ตั้งอยู่ในเขตพระนครดังปรากฏชื่อตำบลในเวียง ในปัจจุบัน อยู่ใกล้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดน่าน ตามพงศาวดารของเมืองน่าน พระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์เจ้าผู้ครองนครน่านได้สร้างวัดภูมินทร์ขึ้นหลังจากที่ครองนครน่านได้ ๖ ปี เมื่อ พ.ศ.๒๑๓๙ มีปรากฏในคัมภีร์เมืองเหนือว่าเดิมชื่อ “วัดพรหมมินทร์” แต่ตอนหลังชื่อวัดได้เพี้ยนไปจากเดิมเป็นวัดภูมินทร์ สามร้อยปีต่อมา วัดภูมินทร์ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่สมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๐ (ปลายสมัยรัชกาลที่ ๔) ใช้เวลาซ่อมนานถึง ๗ ปี จิตรกรรมฝาผนังในวิหารหลวงก็เขียนขึ้นในช่วงนี้ ภาพจิตรกรรมหรือ “ฮูบแต้ม” ในวัดภูมินทร์เป็นชาดกในพุทธศาสนาแต่ถ้าพิจารณารายละเอียดของวิถีชีวิตของคนเมืองในสมัยนั้น มีภาพที่น่าสนใจอยู่หลายภาพเช่น ภาพธรรมเนียมการอยู่ข่วง ของชาวไทลื้อ พ่อแม่ จะอนุญาตให้หนุ่มสาวพบปะกันที่ชานบ้านในเวลาค่ำ ขณะหญิงสาวกำลังปั่นฝ้าย หรือ “อยู่ข่วง” หากสาวเจ้าตกลงปลงใจด้วยก็จะจัดพิธีแต่งงาน หรือที่เรียกว่า “เอาคำ ไปป่องกั๋น” หรือเป็นทองแผ่นเดียวกัน การค้าขายแลกเปลี่ยนในชุมชน ภาพชาวพื้นเมือง ซึ่งอาจเป็นชาวเขา “เป๊อะ” ของป่าบนศรีษะ เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนกับคนเมือง ภาพปู่ม่าน ย่าม่าน ภาพนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพที่งามเป็นเยี่ยมของวัดภูมินทร์ มีการใช้สีแดง ฟ้าดำ น้ำตาลเข้มเป็นปื้นใหญ่ ๆ คล้ายภาพสมัยใหม่ ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเมืองน่าน หญิงสาวกำลังทอผ้าด้วยกี่พื้นเมือง นอกเรือนมีชานเล็ก ๆ ตั้งหม้อน้ำดินเผาที่เรียกว่า “ร้านน้ำ” ชายหนุ่มไว้ผมทรงหลักแจวหรือทรงมหาดไทย แสดงให้เห็นอิทธิพลตะวันตกที่เข้ามาผสมผสานในวิถีพื้นเมืองน่าน ภาพชาวต่างประเทศ ที่เข้ามาเมืองน่านช่วงรัชกาลที่ ๕ ทรงผม และเครื่องแต่งกายของผู้หญิงเป็นรูปแบบเดียวกับที่กำลังเป็นที่นิยมในยุโรปขณะนั้น จุดเด่นของวัดนี้คือเป็นวัดที่สร้างทรงจตุรมุขหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่ดูคล้ายตั้งอยู่บนหลังพญานาค ๒ ตัว อาคารนี้เป็นทั้งพระอุโบสถ พระวิหารและพระเจดีย์ประธาน โดยใช้อาคารในแนวตะวันออก-ตะวันตกเป็นพระวิหาร และอาคารแนวเหนือ-ใต้ เป็นพระอุโบสถ รัฐบาลไทยเคยพิมพ์รูปวัดภูมินทร์ในธนบัตรใบละ ๑ บาท ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ และเมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ สร้างพระวิหารหลังนี้จำลองไว้ด้วย
วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ถนนสุริยพงษ์ ตรงข้ามสำนักงานเทศบาลเมืองน่าน เดิมเรียก “วัดหลวง” หรือ “วัดหลวงกลางเวียง” สร้างขึ้นในสมัยเจ้าปู่แข็ง พ.ศ. ๑๙๔๙ เป็นวัดหลวงในเขตนครน่าน สำหรับเจ้าผู้ครองนครใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญทางพุทธศาสนาและพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาตามศิลาจารึกหลักที่ ๗๔ ซึ่งถูกค้นพบภายในวัดกล่าวว่า พญาพลเทพฤาชัย เจ้าเมืองน่านได้ปฏิสังขรณ์บูรณะวิหารหลวงเมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๑ ลักษณะสถาปัตยกรรมของวัดพระธาตุช้างค้ำนี้สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย อาทิ เจดีย์ทรงลังกา (ทรงระฆัง) รอบฐานองค์พระเจดีย์ก่ออิฐถือปูนและปั้นเป็นรูปช้างครึ่งตัว ด้านละ ๕ เชือก และที่มุมทั้งสี่อีก ๔ เชือก ดูคล้ายจะเอาหลังหนุน หรือ “ค้ำ” องค์เจดีย์ไว้ ลักษณะคล้ายวัดช้างล้อม จังหวัดสุโขทัย และภายในวิหารประดิษฐาน พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี พระพุทธรูปสำริดปางประทานอภัย สูง ๑๔๕ เซนติเมตร อายุราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ตรงกับสมัยสุโขทัยตอนปลาย ส่วนผสมของทองคำ ๖๕ % พระประธานเป็นปูนปั้นขนาดใหญ่ศิลปะเชียงแสน ฝีมือสกุลช่างน่านที่มีพุทธลักษณะงดงามยิ่ง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ถนนผากอง ตรงข้ามกับวัดพระธาตุช้างค้ำ ใกล้กับวัดภูมินทร์ เป็นอาคารแบบยุโรปซึ่งเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมท้องถิ่นเมืองน่าน เดิมเป็น “หอคำ” ซึ่งเป็นที่ประทับและที่ว่าราชการของพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ ใช้เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดแห่งแรกของจังหวัดน่าน ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๑๗ อาคารแห่งนี้ได้รับการปรับปรุงอีกครั้งให้เป็นสถานที่ตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ลักษณะการจัดพิพิธภัณฑ์จะใช้แสงธรรมชาติเข้าช่วย ตัวอาคารโปร่งมีหน้าต่างโดยรอบ ผู้มาเที่ยวจะรู้สึกเหมือนเดินอยู่ในบ้านมากกว่าพิพิธภัณฑ์ ทำให้เพลิดเพลินในการเดินชมสิ่งของที่จัดแสดง ภายในพิพิธภัณฑ์แบ่งเป็น ๒ ชั้น ชั้นล่างจัดแสดงชีวิตความเป็นอยู่ของชนเผ่าต่าง ๆ ในจังหวัดน่าน รวมทั้งเทศกาลงานประเพณีที่สำคัญของจังหวัด เช่น การสืบชะตา การแข่งเรือ ส่วนชั้นบนจัดแสดงโบราณวัตถุสมัยต่าง ๆ ที่พบในจังหวัดน่าน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงยุคเจ้าผู้ครองนครน่าน ชิ้นที่สำคัญ ได้แก่ งาช้างดำ วัตถุมงคลคู่บ้านคู่เมืองน่าน เป็นงาช้างข้างซ้าย ยาว ๙๔ เซนติเมตร วัดโดยรอบส่วนที่ใหญ่สุดได้ ๔๗ เซนติเมตร มีน้ำหนัก ๑๘ กิโลกรัม ได้มาในสมัยพระยาการเมืองเจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ ๕ เครื่องปั้นดินเผาเคลือบ อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ จากเตาเผาบ่อสวก ตำบลสวก อำเภอเมือง น่าน พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนา อิทธิพลศิลปะพม่า พุทธศตวรรษที่ ๒๕ พานพระศรีเครื่องเงินลงยา ซึ่งเป็นเครื่องประกอบอิสริยยศของเจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย พิพิธภัณฑ์เปิดทุกวัน เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ น. ค่าเข้าชม ชาวไทย ๑๐ บาท ชาวต่างประเทศ ๓๐ บาท รายละเอียดติดต่อ โทร ๐ ๕๔๗๑ ๐๕๖๑, ๐ ๕๔๗๗ ๒๗๗๗ หรือwww.thailandmuseum.com
วัดพระธาตุเขาน้อย ตำบลไชยสถาน องค์พระธาตุตั้งอยู่บนยอดดอยเขาน้อย ซึ่งอยู่ด้านตะวันตกของตัวเมืองน่าน อยู่ในเส้นทางเดียวกันกับวัดพญาวัด ตรงหลักกิโลเมตรที่ ๒ สร้างในสมัยเจ้าปู่แข็ง เมื่อ พ.ศ.๒๐๓๐ องค์พระธาตุเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ ศิลปะพม่าผสมล้านนา ภายในบรรจุพระเกศาธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยพระเจ้าสุริยพงศ์ผริตเดชฯ ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๔๙-๒๔๕๔ โดยช่างชาวพม่า และวิหารสร้างในสมัยนี้เช่นกัน จากวัดพระธาตุเขาน้อยสามารถมองเห็นทิวทัศน์โดยรอบของตัวเมืองน่าน ปัจจุบันบริเวณลานชมทิวทัศน์ประดิษฐาน “พระพุทธมหาอุดมมงคลนันทบุรีศรีน่าน” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางประทาน-พร บนฐานดอกบัวสูง ๙ เมตร บนยอดพระเกศาทำจากทองคำหนัก ๒๗ บาท สร้างขึ้นเนื่องในมหามงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖ รอบ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒
วัดมิ่งเมือง ถนนสุริยพงศ์ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐ ลักษณะเด่นคือ ลายปูนปั้นที่ผนังด้านนอกของพระอุโบสถ เป็นฝีมือตระกูลช่างเชียงแสน มีความวิจิตรงดงามมาก ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงให้เห็นวิถีชีวิตของชาวเมืองน่าน ฝีมือช่างท้องถิ่นยุคปัจจุบัน และบริเวณวัดยังเป็นที่ประดิษฐาน เสาหลักเมือง ซึ่งอยู่ในศาลาจตุรมุขด้านหน้าพระอุโบสถ เสาหลักเมืองสูงประมาณ ๓ เมตร ฐานประดับด้วยไม้แกะลวดลายลงรักปิดทอง ยอดเสาแกะสลักเป็นรูปพรหมพักตร์มีชื่อ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
วัดสวนตาล ถนนมหายศ สร้างขึ้นโดยพระนางปทุมวดี เมื่อ พ.ศ.๑๗๗๐ เจดีย์มีสัณฐานงดงาม ชั้นล่างมีซุ้มประตูทั้งสี่ทิศ ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปที่สำคัญคือ พระเจ้าทองทิพย์ ซึ่งพระเจ้าติโลกราชแห่งนครเชียงใหม่ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ.๑๙๙๒ เป็นพระพุทธรูปทองสำริดองค์ใหญ่ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๑๐ ฟุต สูง ๑๔ ฟุต ๔ นิ้ว มีงานนมัสการและสรงน้ำเป็นประจำทุกปี ในช่วงเทศกาลสงกรานต์และมีการเฉลิมฉลองทั้งกลางวันและกลางคืน
วัดพญาวัด บ้านพญาวัด ตำบลดู่ใต้ ตามทางหลวงหมายเลข ๑๐๑ ก่อนข้ามสะพานเข้าเมืองน่าน มีทางแยกซ้ายมือเข้าทางหลวงหมายเลข ๑๐๒๕ เข้าไปประมาณ ๓๐๐ เมตร แต่เดิมบริเวณที่ตั้งวัดเป็นเขตศูนย์กลางเมืองน่านในสมัยที่ย้ายเมืองจากพระบรมธาตุแช่แห้งมาตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน เจดีย์สร้างด้วยศิลาแลงในสมัยพระนางจามเทวี ลักษณะคล้ายเจดีย์กู่กุด จังหวัดลำพูน เป็นทรงซุ้มสี่เหลี่ยมซ้อนกัน ๕ ชั้น แต่ละชั้นประดิษฐานพระพุทธรูปยืนซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัยดังพบที่สถูปเจดีย์วัดมหาธาตุจังหวัดสุโขทัย ยอดซุ้มก่ออิฐวงโค้งเป็นรูปแบบการก่อสร้างสมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งนครเชียงใหม่แสดงให้เห็นว่ามีการบูรณะในสมัยนั้น ซึ่งเป็นสมัยที่อิทธิพลของศิลปะเชียงใหม่ได้เข้ามาแทนที่ศิลปะสุโขทัยแล้ว ในพระอุโบสถประดิษฐาน “พระเจ้าฝนแสนห่า” หรือ “พระเจ้าสายฝน” ซึ่งชาวเมืองน่านเคยนำมาแห่ขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล นอกจากนั้นยังมีธรรมาสน์แกะสลัก ฝีมือช่างพื้นเมืองน่านที่เก่าที่สุดเท่าที่เคยพบ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยเจ้าอัตถวรปัญโญ ราวครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๒๔
แหล่งเตาเผาและเครื่องเคลือบบ้านบ่อสวก บ้านบ่อสวก ในอดีตเคยเป็นแหล่งผลิตเครื่องเคลือบภาชนะดินเผาที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองน่าน มีรูปแบบและกรรมวิธีการผลิตเป็นลักษณะเฉพาะของตัวเอง คาดว่าเครื่องเคลือบภาชนะดินเผาจากบ้านบ่อสวกเคยได้รับความนิยมอย่างสูง เพราะได้ขุดพบตามแหล่งฝังศพของคนในสมัยก่อน โดยเฉพาะแถบเทือกเขาในอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ต่อเนื่องไปจนถึงจังหวัดตาก และกำแพงเพชร สันนิษฐานว่าการผลิตเครื่องเคลือบที่บ้านบ่อสวกเริ่มขึ้นและพัฒนาในสมัยเจ้าพระยาพลเทพฤาชัย (พ.ศ.๒๐๗๑-๒๑๐๒) ซึ่งเป็นยุคสมัยแห่งความรุ่งเรืองของเมืองน่าน วิทยาการเตาเผาและเครื่องเคลือบเมืองน่านได้รับจากล้านนา เช่น จากกลุ่มสันกำแพง กลุ่มกาหลง ซึ่งเป็นกลุ่มเตาใกล้นครเชียงใหม่ เตาเผาแห่งนี้ได้รับการสำรวจและศึกษาเบื้องต้น โดยกองโบราณคดี กรมศิลปากร มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นแหล่งโบราณคดีชุมชนอยู่ที่บ้านบ่อสวกพัฒนา หมู่ ๑๐ ตำบลบ่อสวก ห่างจากตัวเมือง ๑๗ กิโลเมตร แหล่งที่มีการค้นพบเตาเผาเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ตั้งอยู่ในเขตบ้านพักของ จ.ส.ต.มนัส และคุณสุนัน ติคำ บริเวณที่พบเตาอยู่ริมแม่น้ำ ลักษณะของเตาหันหน้าเข้าหาแม่น้ำเพื่อสะดวกในการขนส่ง ภายในเป็นโพรงใหญ่เพื่อให้คนเข้าไปข้างในได้ เตามีความลาดเอียงและมีปล่องระบายอากาศอยู่ด้านบน เตาโบราณจำนวน ๒ เตาได้รับการบูรณะ และก่อสร้างอาคารถาวรคลุม ส่วนบริเวณใต้ถุนบ้าน จ่ามนัสจัดเป็นนิทรรศการแสดงโบราณวัตถุจากแหล่งเตาเผา การขุดค้นศึกษาแหล่งเตาเมืองน่านบ้านบ่อสวก ถือเป็นการเปิดมิติใหม่ในการทำงานวิจัยทาง “โบราณคดีชุมชน” โดยการร่วมมือระหว่างชาวบ้าน องค์กรเอกชน ส่วนราชการในท้องถิ่น และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดความงอกงามทางความรู้และความเข้มแข็งของชุมชนไปพร้อมกัน ในอนาคตจะมีการจัดตั้งกองทุนโบราณคดีชุมชนบ้านบ่อสวก และนำเงินจากกองทุนเพื่อจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชน เช่น การฟื้นฟูอาชีพเครื่องปั้นดินเผา การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์หมู่บ้าน และการอบรมมัคคุเทศก์ชุมชน
วนอุทยานถ้ำผาตูบ ตำบลผาสิงห์ ห่างจากตัวจังหวัด ๑๒ กิโลเมตร บนทางหลวงหมายเลข ๑๐๘๐ น่าน-ปัว-ทุ่งช้าง ตรงหลักกิโลเมตรที่ ๙-๑๐ สามารถเข้าถึงได้ทุกฤดูกาล
อำเภอบ้านหลวง
อุทยานแห่งชาตินันทบุรี ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองและอำเภอบ้านหลวง รวมทั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าน้ำยาว-น้ำสวก และป่าสงวนแห่งชาติถ้ำพุเตย เป็นป่าผสมผลัดใบ ดิบแล้ง ดิบเขา มีไม้ประเภท สัก ประดู่ ตะแบก ฯลฯ และในเขตอุทยานฯ นี้ยังเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนเผ่ามลาบรี หรือ ผีตองเหลือง
สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ คือ
ดอยผาจิ การเดินทางจากน่านใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๐๙๑ ระยะทางประมาณ ๔๐ กิโลเมตร เมื่อถึงอำเภอบ้านหลวงใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๑๗๒ เข้าบ้านพี้เหนือสู่ดอยผาจิ ระยะทางประมาณ ๓๐ กิโลเมตร การเดินทางสู่ดอยผาจิต้องเดินเท้าจากอุทยานแห่งชาตินันทบุรี เขตติดต่อน่าน-พะเยา ดอยผาจิ เป็นดอยที่มีความสวยงาม มีธรรมชาติที่ยังสมบูรณ์ทั้งน้ำตก ต้นไม้นานาพันธุ์ ดอยผาจินี้เคยเป็นพื้นที่ตั้งฐานกำลังของฝ่าย ผกค. ปัจจุบันยังมีอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ท่อประปา อยู่ในพื้นที่ นอกจากนี้บริเวณใกล้เคียงยังมีหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง และเย้าตั้งอยู่
ดอยวาว อยู่ในการดูแลของหน่วยจัดการต้นน้ำน้ำค้าง เป็นจุดชมทะเลหมอกและพระอาทิตย์ตกที่สวยงาม อำเภอท่าวังผาเดิมเป็นป่าเสื่อมโทรมมาก ปัจจุบันได้รับการฟื้นฟูโดยทางหน่วยจัดการต้นน้ำฯได้ปลูกพันธุ์ไม้เดิม เช่น แอปเปิ้ลป่า เมเปิ้ล สนสามใบ ก่อนถึงดอยวาวจะผ่านดอยติ้วซึ่งเคยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของเมืองน่าน อุทยานแห่งชาตินันทบุรี หมู่บ้านม้งที่บ้านดอยติ้ว และบ้านสบขุ่น อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปอีกราว ๔ กิโลเมตร สามารถเดินทางด้วยรถยนต์ไปถึงหน่วยจัดการต้นน้ำฯ แล้วเดินเท้าขึ้นสู่ยอดดอย ตลอดเส้นทางเป็นป่าดิบเขาที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นถิ่นอาศัยของนกบนที่สูงนานาชนิด ได้แก่ นกมุ่นรกตาแดง นกหางรำหางยาว นกติ๊ดแก้มเหลือง นกเสือแมลงปีกแดง นกระวังไพรปากแดงยาว ฯลฯ และฤดูหนาวจะมีนกอพยพมาพำนัก สถานที่น่าสนใจอื่น ๆ ได้แก่ น้ำตกสันติสุข น้ำตกสองแคว น้ำตกห้วยพริก น้ำตกตาดฟ้าร้อง น้ำตกดอยหมอก น้ำพุร้อน
สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ คือ
ดอยผาจิ การเดินทางจากน่านใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๐๙๑ ระยะทางประมาณ ๔๐ กิโลเมตร เมื่อถึงอำเภอบ้านหลวงใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๑๗๒ เข้าบ้านพี้เหนือสู่ดอยผาจิ ระยะทางประมาณ ๓๐ กิโลเมตร การเดินทางสู่ดอยผาจิต้องเดินเท้าจากอุทยานแห่งชาตินันทบุรี เขตติดต่อน่าน-พะเยา ดอยผาจิ เป็นดอยที่มีความสวยงาม มีธรรมชาติที่ยังสมบูรณ์ทั้งน้ำตก ต้นไม้นานาพันธุ์ ดอยผาจินี้เคยเป็นพื้นที่ตั้งฐานกำลังของฝ่าย ผกค. ปัจจุบันยังมีอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ท่อประปา อยู่ในพื้นที่ นอกจากนี้บริเวณใกล้เคียงยังมีหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง และเย้าตั้งอยู่
ดอยวาว อยู่ในการดูแลของหน่วยจัดการต้นน้ำน้ำค้าง เป็นจุดชมทะเลหมอกและพระอาทิตย์ตกที่สวยงาม อำเภอท่าวังผาเดิมเป็นป่าเสื่อมโทรมมาก ปัจจุบันได้รับการฟื้นฟูโดยทางหน่วยจัดการต้นน้ำฯได้ปลูกพันธุ์ไม้เดิม เช่น แอปเปิ้ลป่า เมเปิ้ล สนสามใบ ก่อนถึงดอยวาวจะผ่านดอยติ้วซึ่งเคยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของเมืองน่าน อุทยานแห่งชาตินันทบุรี หมู่บ้านม้งที่บ้านดอยติ้ว และบ้านสบขุ่น อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปอีกราว ๔ กิโลเมตร สามารถเดินทางด้วยรถยนต์ไปถึงหน่วยจัดการต้นน้ำฯ แล้วเดินเท้าขึ้นสู่ยอดดอย ตลอดเส้นทางเป็นป่าดิบเขาที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นถิ่นอาศัยของนกบนที่สูงนานาชนิด ได้แก่ นกมุ่นรกตาแดง นกหางรำหางยาว นกติ๊ดแก้มเหลือง นกเสือแมลงปีกแดง นกระวังไพรปากแดงยาว ฯลฯ และฤดูหนาวจะมีนกอพยพมาพำนัก สถานที่น่าสนใจอื่น ๆ ได้แก่ น้ำตกสันติสุข น้ำตกสองแคว น้ำตกห้วยพริก น้ำตกตาดฟ้าร้อง น้ำตกดอยหมอก น้ำพุร้อน
พระธาตุเมล็ดข้าว อยู่บ้านนาหวายใหม่ หมู่ที่ 5 ตำบลป่าคาหลวง ห่างจากอำเภอประมาณ 2 กม. มีตำนานเล่าสืบกันมาว่า เจ้าผู้ครองนครน่านเสด็จไปรับช้างเผือกที่ นครเชียงราย ขากลับได้มาพักแรมในตำบลสวด และได้ทำพิธีสมโภชช้างเผือก ที่ได้รับมอบมาโดยให้นิมนต์พระสงฆ์มารับบิณบาต ราษฎรที่มาร่วมพิธี ได้นำข้าวปลาอาหารมาถวายแด่พระสงฆ์ เป็นจำนวนมาก จนพอกพูนล้นบาต ข้าวที่ล้นออกมาได้นำมาปั้นเป็นรูปเจดีย์ ต่อมาชาวบ้านที่ศรัทธา ได้ช่วยกันเอาอิฐก่อหุ้มโดยรอบ จนกลายเป็น องค์เจดีย์ขึ้นมาได้เคยมีผู้เห็นแสงสว่างไสวออกมาจากพระธาตุในเวลากลางคืนทุกปีจะมีการทำบุญนมัสการ พระธาตุเมล็ดข้าว ในวันสงกรานต์ เพื่อเป็นสิริมงคล ความยึดมั่นศรัทธาของชาวอำเภอบ้านหลวงตลอดมาจนถึงทุกวันนี้ภู่เขาเขียว อยู่ที่บ้านป่าคา หมู่ 1 ตำบลป่าคาหลวง ห่างจากอำเภอประมาณ 3 กม. ไม่ปรากฏ ผู้สร้าง แต่ประมาณอายุแล้วไม่ต่ำกว่า 300 ปี จากการเล่าลือ สืบต่อกันมาว่า มีพระอรหันต์รูปหนึ่งได้ธุดงค์ผ่านมาบริเวณ ณ บ้านป่าคา โดยแปลงร่างเป็นนกเขาเขียว ได้บินร่อนลงบริเวณเนินเขา แห่งหนึ่งแล้วหายไป กลายเป็นกู่ (เจดีย์) อยู่ที่นั้น ซึ่งก็คือ “กู่เขาเขียว” ในปัจจุบัน
อำเภอท่าวังผา
วัดหนองบัว หมู่บ้านหนองบัว ตำบลป่าคา ไปตามทางหลวงหมายเลข ๑๐๘๐ เลี้ยวซ้ายกิโลเมตรที่ ๔๐ ข้ามสะพานแล้วเข้าไปอีก ๓ กิโลเมตร วัดหนองบัวเป็นวัดเก่าแก่ของหมู่บ้าน จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านทำให้สันนิษฐานได้ว่าวัดไทลื้อแห่งนี้สร้างราว พ.ศ. ๒๔๐๕ (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๔) ภาพจิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์เล่าเรื่องในปัญญาสชาดก ซึ่งเป็นพระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้า สันนิษฐานว่าเขียนโดย “ทิดบัวผัน” ช่างเขียนลาวพวนที่บิดาของครูบาหลวงสุ ชื่อนายเทพ ซึ่งเป็นทหารของเจ้าอนันตยศ (เจ้าเมืองน่านระหว่าง พ.ศ. ๒๓๙๕-๒๔๓๔) ได้นำมาจากเมืองพวน ในแคว้นหลวงพระบาง นอกจากนั้นยังมีนายเทพและพระแสนพิจิตรเป็นผู้ช่วยเขียนจนเสร็จ และยังมีภาพของเรือกลไฟ และดาบปลายปืนซึ่งเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๕ ภาพจิตรกรรมที่วัดหนองบัวแห่งนี้ ได้สะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการแต่งกายของผู้หญิงที่นุ่งผ้าซิ่นลายน้ำไหล หรือผ้าซิ่นตีนจกที่สวยงาม นับว่ามีคุณค่าทางศิลปะและความสมบูรณ์ของภาพใกล้เคียงกับภาพจิตรกรรมฝาผนังของวัดภูมินทร์ในเมืองน่าน นอกจากภาพจิตรกรรมแล้วที่ฐานพระประธานยังประดิษฐานพระพุทธรูปล้านนาองค์เล็กอยู่หลายองค์ และยังมีบุษบกสมัยล้านนาอยู่ด้วย นอกจากนี้มีบ้านจำลองไทลื้อ (เฮือนไทลื้อมะเก่า) มีอุปกรณ์การประกอบอาชีพของชาวไทลื้อจัดแสดงไว้ ที่ราบลุ่มน้ำน่านทางทิศเหนือของจังหวัด ในอำเภอท่าวังผาและอำเภอปัว เป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่อุดมสมบูรณ์ คำว่า “ท่าวังผา” บ่งบอกให้เห็นสภาพภูมิประเทศซึ่งมีลักษณะเป็น “วัง” อุดมด้วยปลานานาชนิด สองฝั่งแม่น้ำน่านขนาบด้วยหน้าผาสูงชัน สายน้ำสายนี้ในอดีตเคยเป็นเส้นทางขนส่งของป่า อาทิ ต๋าว,ตาว (ซึ่งมีเนื้อในเมล็ดอ่อน เรียกว่าลูกชิด เชื่อมกินได้) หวาย และเกลือ จากดอยสูงด้วยความอุดมสมบูรณ์ของผืนดินและแหล่งน้ำ เมืองปัวและเชียงกลางจึงเป็นที่ตั้งถิ่นฐานบ้านเมืองของไทลื้อมาหลายร้อยปี วัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชาวไทลื้อ คือ การทอผ้าลายน้ำไหลซึ่งสะท้อนให้เห็นคติความเชื่อ ฝีมือเชิงช่าง และจินตนาการทางศิลปะของชุมชนชาวไทลื้อเป็นอย่างดี
วัดหนองบัว หมู่บ้านหนองบัว ตำบลป่าคา ไปตามทางหลวงหมายเลข ๑๐๘๐ เลี้ยวซ้ายกิโลเมตรที่ ๔๐ ข้ามสะพานแล้วเข้าไปอีก ๓ กิโลเมตร วัดหนองบัวเป็นวัดเก่าแก่ของหมู่บ้าน จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านทำให้สันนิษฐานได้ว่าวัดไทลื้อแห่งนี้สร้างราว พ.ศ. ๒๔๐๕ (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๔) ภาพจิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์เล่าเรื่องในปัญญาสชาดก ซึ่งเป็นพระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้า สันนิษฐานว่าเขียนโดย “ทิดบัวผัน” ช่างเขียนลาวพวนที่บิดาของครูบาหลวงสุ ชื่อนายเทพ ซึ่งเป็นทหารของเจ้าอนันตยศ (เจ้าเมืองน่านระหว่าง พ.ศ. ๒๓๙๕-๒๔๓๔) ได้นำมาจากเมืองพวน ในแคว้นหลวงพระบาง นอกจากนั้นยังมีนายเทพและพระแสนพิจิตรเป็นผู้ช่วยเขียนจนเสร็จ และยังมีภาพของเรือกลไฟ และดาบปลายปืนซึ่งเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๕ ภาพจิตรกรรมที่วัดหนองบัวแห่งนี้ ได้สะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการแต่งกายของผู้หญิงที่นุ่งผ้าซิ่นลายน้ำไหล หรือผ้าซิ่นตีนจกที่สวยงาม นับว่ามีคุณค่าทางศิลปะและความสมบูรณ์ของภาพใกล้เคียงกับภาพจิตรกรรมฝาผนังของวัดภูมินทร์ในเมืองน่าน นอกจากภาพจิตรกรรมแล้วที่ฐานพระประธานยังประดิษฐานพระพุทธรูปล้านนาองค์เล็กอยู่หลายองค์ และยังมีบุษบกสมัยล้านนาอยู่ด้วย นอกจากนี้มีบ้านจำลองไทลื้อ (เฮือนไทลื้อมะเก่า) มีอุปกรณ์การประกอบอาชีพของชาวไทลื้อจัดแสดงไว้ ที่ราบลุ่มน้ำน่านทางทิศเหนือของจังหวัด ในอำเภอท่าวังผาและอำเภอปัว เป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่อุดมสมบูรณ์ คำว่า “ท่าวังผา” บ่งบอกให้เห็นสภาพภูมิประเทศซึ่งมีลักษณะเป็น “วัง” อุดมด้วยปลานานาชนิด สองฝั่งแม่น้ำน่านขนาบด้วยหน้าผาสูงชัน สายน้ำสายนี้ในอดีตเคยเป็นเส้นทางขนส่งของป่า อาทิ ต๋าว,ตาว (ซึ่งมีเนื้อในเมล็ดอ่อน เรียกว่าลูกชิด เชื่อมกินได้) หวาย และเกลือ จากดอยสูงด้วยความอุดมสมบูรณ์ของผืนดินและแหล่งน้ำ เมืองปัวและเชียงกลางจึงเป็นที่ตั้งถิ่นฐานบ้านเมืองของไทลื้อมาหลายร้อยปี วัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชาวไทลื้อ คือ การทอผ้าลายน้ำไหลซึ่งสะท้อนให้เห็นคติความเชื่อ ฝีมือเชิงช่าง และจินตนาการทางศิลปะของชุมชนชาวไทลื้อเป็นอย่างดี
หมู่บ้านไทลื้อหนองบัว บ้านหนองบัว ตำบลป่าคา จากตัวเมืองน่านใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๐๘๐ ระยะทาง ๔๑ กิโลเมตร ก่อนถึงอำเภอท่าวังผามีทางแยกซ้ายไปอีก ๓ กิโลเมตร หมู่บ้านแห่งนี้มีฝีมือในการทอผ้าพื้นเมืองที่สวยงาม เรียกว่า “ผ้าลายน้ำไหล” ซึ่งเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในจังหวัดน่าน นับเป็นหัตถกรรมที่ตกทอดมาหลายยุคหลายสมัย
ศูนย์จำหน่ายผ้าลายน้ำไหลไทลื้อ ตั้งอยู่บ้านหนองบัว ตำบลป่าคา อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอท่าวังผา ประมาณ 5 กม. เป็นศูนย์การผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าลายน้ำไหลไทลื้อที่มีชื่อเสียงโด่งดังมานานของจังหวัดน่าน ฝีมือถักทอปราณีตสวยงามเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ
บ่อน้ำร้อนโป้งกิ แหล่งท่องเที่ยวบ่อน้ำร้อนโป่งกิ ตั้งอยู่ในเขตวนอุทยานแห่งชาตินันทบุรี ล้อมรอบด้วยภูเขา อยู่ที่บ้านน้ำกิ หมู่ที่ 5 ตำบลผาทอง สถานที่ท่องเที่ยวบ่อน้ำร้อนโป่งกิมีที่อาบน้ำ เช่น ที่อาบน้ำแบบแช่ จำนวน 2 หลัง ที่อาบน้ำ แบบตักอาบ จำนวน 4 ห้อง รวมถึงบ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยว 2 หลัง และศาลาพักร้อน 6 หลัง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแบบธรรมชาติ ที่น่าสนใจเพราะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเดียวใน จังหวัดน่านที่มีบ่อน้ำพุร้อน นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางด้วยรถยนต์ - มอเตอร์ไซด ์ส่วนฤดูฝนควรใช้รถยนต์ชนิดขับเคลื่อนสี่ล้อ จากอำเภอท่าวังผาไปยังทางอำเภอสองแคว ประมาณ 17 กิโลเมตร เลี้ยวซ้าย เข้าบ้านปางสา ผ่านบ้านน้ำลักใต้จนถึงบ้านน้ำกิ ระยะทางรวมจากอำเภอท่าวังผา ถึงแหล่งท่องเที่ยว 35 กิโลเมตร น้ำตกสันติสุข อยู่บ้านสันติสุข หมู่ที่ 7 ตำบลแสนทอง เป็นน้ำตกที่มีความสวยงาม มีทั้งหมด 3 ชั้น มีป่าไม้ที่อนุรักษ์ไว้ในบริเวณ ประมาณ 150 ไร่ โดยได้ใช้งบประมาณ ขององค์การบริหารส่วนตำบลแสนทอง เข้าไปดำเนินการในปีงบประมาาณ พ.ศ. 2541 โดยได้ทำการปลูกต้นไม้ เพื่อเป็น แหล่งท่องเที่ยว และมีห้องน้ำห้องส้วมไว้บริการให้นักท่องเที่ยว ด้วยระยะทางจากอำเภอท่าวังผา ไปถึงน้ำตกสันติสุขมีระยะทาง ประมาณ 15 กิโลเมตร มีถนนคอนกรีตเข้าไปถึงตัวน้ำตกและทางองค์การบริหารส่วนตำบลแสนทองก็ได้จัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของตำบล
ดอยติ้ว ตั้งอยู่ในเขตตำบลศรีภูมิ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ธรรมชาติงดงามอากาศเย็นสบาย สามารถมองเห็นทัศนียภาพ อำเภอท่าวังผา ได้ชัดเจนและสวยงาม อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอท่าวังผา 20 กม. ถนนลาดยาง ตลอดสาย
ร้านของฝาก-ช้อปปิ้ง
จันสมการทอ อยู่ที่หลังวัดหนองบัวในหมู่บ้านหนองบัว มีร้านผ้าไทยลื้อแบบต่างๆมากมายครับ
ร้านข้าวหลาม อยู่ระหว่างเส้นทางในเขต อ.ท่าวังผา มีร้านขายข้าวหลามอยู่หลายร้าน มีไส้เผือก ไส้สังขยา ไส้ถั่ว ถ้าเดินทางผ่านก็อย่าลืมแวะซื้อนะครับ รสชาดหวาน มัน อร่อย
อำเภอปัว
ต้นดิ๊กเดียม ในวัดบ้านปรางค์ ตำบลปัว เป็นต้นไม้ที่มีลักษณะพิเศษคือใบไม้จะไหวสั่นทุกครั้งที่ถูกคนสัมผัส ชื่อพื้นเมืองคือ ดิเดียม ดีบเดียม และดิกดอย ประโยชน์คือ ใช้ทำยาสมุนไพร การเดินทาง จากจังหวัดน่านเดินทางด้วยตามหลวงหมายเลข ๑๐๘๐ และ ๑๒๕๖ สู่อำเภอปัว ก่อนถึงตัวอำเภอเล็กน้อยมีสามแยกตรงข้ามตลาดเทศบาล ๑ ให้เลี้ยวซ้ายไปประมาณ ๑ กิโลเมตร เข้าสู่วัดบ้านปรางค์
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา มีพื้นที่ทั้งหมด ๑,๐๖๕,๐๐๐ ไร่ หรือ ประมาณ ๑,๗๐๔ ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 8 อำเภอในจังหวัดน่าน คือ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอท่าวังผา อำเภอปัว อำเภอเชียงกลาง อำเภอทุ่งช้าง อำเภอบ่อเกลือ อำเภอสันติสุข และอำเภอแม่จริม อุทยานแห่งชาติดอยภูคาเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์มีทั้งพืชพรรณและสัตว์ป่ามีความสำคัญต่อระบบนิเวศ เทือกเขาดอยภูคาประกอบด้วยแนวภูเขาสูงสลับซับซ้อน ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของปลายเทือกเขาหิมาลัย โดยมียอดภูคาเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของจังหวัดน่าน สูงถึง ๑,๙๘๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล ดอยภูคาเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย เช่น แม่น้ำน่าน ลำน้ำปัว และลำน้ำว้า บริเวณนี้เดิมเคยเป็นทะเลมาก่อน ก่อนจะเกิดการเคลื่อนตัวของแผ่นดินสองผืนใต้ทะเลเข้าหากัน ทำให้แผ่นดินโก่งตัวขึ้น น้ำทะเลใต้ดินระเหยไปเหลือเพียงสินแร่เกลือ ดังที่พบในอำเภอบ่อเกลือ และการค้นพบสุสานหอยทะเลอายุประมาณ ๒๐๐ ล้านปี บนดอยภูแวที่บ้านค้างฮ่อ ตำบลสะกาด อำเภอปัว มีลักษณะเป็นหอยแครงสองฝา ดร.จงพันธ์ จงลักษณ์มณี นักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี สรุปว่า เป็นซากหอยที่มี ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า พาลีโอคาร์ดิต้า สปีชี่ (Paleocardita Species) อายุ ๑๙๕-๒๐๕ ล้านปี จัดอยู่ในยุคไทรแอสซิก (Triassic) ตอนปลาย ป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ประกอบด้วยป่า 6 ประเภท ป่าดงดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าสนธรรมชาติ และทุ่งหญ้า เป็นแหล่งของพันธุ์ไม้หายากใกล้สูญพันธุ์และพรรณไม้เฉพาะถิ่น ได้แก่ ต้นชมพูภูคา (Bretschneidera sinesis Hemsl.) ซึ่งเป็นพืชหายากในประเทศไทยจะพบเพียงแห่งเดียวที่ป่าอุทยานแห่งชาติดอยภูคา เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูงถึง 25 เมตร ออกดอกเดือนมกราคม-ต้นมีนาคม ในเขตป่าดิบเป็นแหล่งต้นเต่าร้างยักษ์ เป็นพรรณไม้เฉพาะถิ่นของอุทยานแห่งชาติดอยภูคา เป็นปาล์มลำต้นเดียวปาล์มดึกดำบรรพ์ เมเปิ้ลใบห้าแฉก ต่างจากเมเปิ้ลที่อื่นซึ่งมีสามแฉก และกระโถนพระฤาษี เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งนกเฉพาะถิ่นที่หายากสองชนิด คือ นกมุ่นรกตาแดง นกพญาไฟใหญ่ และนกพงใหญ่พันธุ์อินเดียช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว คือ ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ย ๑๕-๒๗ องศาเซลเซียส
สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ
วัดต้นแหลง (วัดโบราณไทยล้านนา) ที่ตั้ง หมู่ 2 ตำบลไทยวัฒนา สันนิษฐานว่าสร้างประมาณ พ.ศ. ๒๑๒๗ วิหารทรงตะคุ่มหลังคาลาดต่ำ ซ้อนกัน ๓ ชั้น ลักษณะเดียวกับบ้านเรือนแบบเดิมของชาวไทลื้อแถบสิบสองปันนา ผนังเจาะช่องหน้าต่างเล็กๆ เพื่อป้องกันอากาศหนาวเย็น ประตูทางเข้าตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก เพื่อให้แสงแรกของวันสาดส่องมาต้ององค์พระประธาน และเพื่อให้พุทธศาสนิกชนที่เข้ามาในวิหารมุ่งความสนใจไปที่องค์พระประธาน ทั้งยังก่อให้เกิดบรรยากาศที่สงบนิ่งเหมาะกับการน้อมจิตสู่สมาธิ
การเดินทาง จากอำเภอเมือง ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๐๘๐ เมื่อเริ่มเข้าเขตตัวเมืองปัวให้สังเกตธนาคารกสิกรไทย สาขาอำเภอปัว แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าซอยก่อนถึงธนาคาร ขับตรงเข้าไปจนถึงวงเวียนให้เลี้ยวขวาอีกประมาณ ๒ กิโลเมตร
วัดพระธาตุเบ็งสกัด ไปตามทางหลวงหมายเลข ๑๒๕๖ ทางเข้าตรงข้ามโรงเรียนวรนคร เข้าไปประมาณ ๒๐๐ เมตร และแยกซ้ายอีก ๒๐๐ เมตร ณ บ้านแก้ม หมู่ที่ 5 ตำบลวรนคร ตั้งอยู่บริเวณที่สันนิษฐานว่าพระยาภูคาได้สร้างเมืองปัวโบราณหรือเมืองวรนครเพื่อให้ เจ้าขุนฟอง พระราชบุตรบุญธรรมมาปกครองซึ่งปัจจุบันเป็นที่ว่าการอำเภอปัว คำว่าเบ็งสกัด หมายถึง สิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดจากบ่อดินที่ใช้ไม้แหย่ลงไปแล้วขาดเป็นท่อน ๆ เหมือนมีอะไรมากัดให้ขาด และมีแสงเกิดขึ้นในคราวเฉลิมฉลอง องค์พระธาตุและพระวิหารสร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖ ภายในองค์พระเจดีย์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุซึ่งถือเป็นศูนย์รวมศรัทธาของชุมชน เป็นสถาปัตยกรรมของช่างน่าน วัดตั้งอยู่บนเนินสูงมองเห็นหมู่บ้านอยู่เบื้องล่าง โดยรอบเป็นป่าละเมาะ ด้านหลังเป็นเนินเขา นับเป็นการเลือกสรรชัยภูมิที่ส่งให้วัดดูโดดเด่นเป็นสง่า หากมาช่วงฤดูฝนจะมองเห็นนาข้าวเขียวขจีของหมู่บ้านเบื้องล่าง ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของวิหารเป็นทรงตะคุ่มแบบพื้นบ้านไทลื้อ หรือที่เรียกว่า “ทรงเตี้ยแจ้” วิหารเป็นหลังคา 2 ชั้น 2 ตับ มุงด้วยแป้นเกล็ด (ทำจากไม้สักทอง) เป็นศิลปะไทลื้อ พื้นเมือง มีซุ้มประตูเป็นศิลปะล้านช้าง มีการบูรณะในสมัยพระยาอนันตยศ และโปรดให้นำพระแก้วซึ่งมีเกศาเป็นทองคำบรรจุในองค์พระธาตุ องค์พระประธานเป็นศิลปะแบบพื้นบ้านประดิษฐานบนฐานชุกชี และด้านหลังองค์พระประธานติดกระจกเงาตามความเชื่อของชาวไทลื้อ และบานประตูไม้จำหลักเป็นศิลปะพื้นเมืองน่าน
ชมพูภูคา ดอยภูคานับเป็นบ้านแห่งสุดท้ายของต้นชมพูภูคาพันธุ์ไม้หิมาลัย ดร.ธวัชชัย สันติสุข ผู้เชี่ยวชาญพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กรมป่าไม้ เป็นผู้สำรวจพบเป็นครั้งแรกในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๒ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ชมพูภูคาจะผลิดอกตามปลายกิ่งเป็นช่อสีชมพูยาว ๓๐-๓๕ เซนติเมตร เมื่อบานจะทำให้ช่อดอกเป็นพุ่มสวยงาม ชมพูภูคาเป็นพันธุ์ไม้ที่เคยมีการสำรวจพบตามหุบเขาแถบมณฑลยูนนานทางตอนใต้ของประเทศจีนและทางเหนือของเวียดนาม จากนั้นก็ไม่มีรายงานการค้นพบพืชชนิดนี้อีก พื้นที่ป่าดิบเขาดอยภูคาจึงอาจเป็นแหล่งกำเนิดสุดท้ายของชมพูภูคา ซึ่งเป็นไม้หายากใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่งของโลก จุดชมต้นชมพูภูคาที่เข้าถึงง่ายที่สุดอยู่ริมถนนห่างจากที่ทำการไป ๕ กิโลเมตร
เส้นทางศึกษาธรรมชาติชมพูภูคา จัดไว้ ๒ เส้นทาง คือ เส้นทางศึกษาธรรมชาติดอกชมพูภูคามีทั้งเส้นรอบใหญ่ มีระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 3 ชั่วโมง และเส้นทางรอบเล็ก มีระยะทาง ๒ กิโลเมตร ใช้เวลาเดิน ประมาณ ๑.๕ ชั่วโมง ซึ่งจะพบพันธุ์ไม้ที่หายากและพันธุ์เฉพาะถิ่นสมุนไพร เป็นต้น และเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าดึกดำบรรพ์ (ดอยดงหญ้าหวาย) มีระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 5 ชั่วโมง ซึ่งเป็นแหล่งดูนก ที่มีนกไต่ไม้สีสวยที่พบเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยและนกชนิดอื่น ๆ ด้วย
น้ำตกศิลาเพชร บ้านป่าตอง ตำบลศิลาเพชร น้ำตกลงมาจากหน้าผาหลายชั้นลดหลั่นกันไป เหมาะกับการเล่นน้ำ และมีผีเสื้อสีสวยให้ชมด้วย ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๗๑ กิโลเมตร ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๐๘๐ สายน่าน-ปัว ก่อนถึงอำเภอปัว ตรงหลักกิโลเมตรที่ ๔๑-๔๒ มีทางแยกขวามือเข้าทางหลวงหมายเลข ๑๑๗๐ ไปประมาณ ๑๐ กิโลเมตร เดินไปอีกประมาณ 10 เมตร
ถ้ำผาแดง อยู่ที่บ้านมณีพฤกษ์ หมู่ที่ ๑๑ ตำบลงอบ เป็นถ้ำที่มีความสวยงามและยาวมากที่สุดในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงาม ยังมีน้ำตกและลำธารขนาดใหญ่ภายในถ้ำอีกด้วย ในอดีตถ้ำผาแดงเป็นฐานที่ตั้งหลบภัยของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ภายในถ้ำยังปรากฏร่องรอยของที่พัก เตียงนอนของทหาร เตียงนอนคนไข้ บางเตียงยังอยู่ในสภาพที่ใช้ได้ หลุมที่ฝังซ่อนอาวุธ เศษถาดอาหาร (ถาดหลุม) และเครื่องใช้ การเดินทาง ต้องเดินเท้าประมาณ ๓ ชั่วโมง ลัดเลาะเนินเขา ซึ่งจะได้ชมความสวยงามของธรรมชาติ พันธุ์ไม้ และสัตว์ป่าต่าง ๆ บ้านของชาวเผ่าม้งที่อาศัยอยู่อย่างธรรมชาติกลางหุบเขา
ถ้ำผาฆ้อง ต้องเดินเท้าผ่านป่าร่มรื่นเข้าไปประมาณ ๓.๕ กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดกลางบริเวณปากถ้ำจะมีขนาดเล็ก ในถ้ำมีคูหาซึ่งมีหินงอกหินย้อย มีทางน้ำไหลผ่าน พื้นถ้ำเป็นดินเหนียวลื่นมาก ไม่ควรเข้าชมในช่วงฤดูฝนเพราะอาจมีน้ำท่วมในถ้ำ ควรติดต่อเจ้าหน้าที่นำทาง การเดินทางห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 7 กิโลเมตร และต้องเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร
น้ำตกต้นตอง เป็นน้ำตกหินปูนที่ห่างจากอุทยานฯ ประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงแยกบ้านเต๋ย ขับรถเข้าอีกประมาณ 800 เมตร เดินต่ออีกประมาณ 200 เมตร ซึ่งเป็นทางเดินลาดชัน น้ำตกต้นตองเป็นน้ำตกหินปูนขนาดกลางมี ๓ ชั้น สูงประมาณ 60 เมตร บนโตรกผามีพืชชุ่มน้ำ เช่น ตะไคร่น้ำ เฟิร์นเกาะเขียวขจี ในหน้าน้ำน้ำตกจะสีขุ่นแดง
ยอดดอยภูแว เป็นยอดดอยที่มีความสูงชัน สูงจากระดับน้ำทะเล 1,837 เมตร เป็นเทือกเขาเดียวกับภูเขาอัลไต มีลักษณะโดดเด่น คือปราศจากต้นไม้ใหญ่ เป็นทุ่งหญ้าบนดอย อีกทั้งยังมีลานหินและหน้าผาสูงชัน เช่น ผาแอ่น ผาผึ้ง ดอยภูแว ค้นพบสุสานหอยซึ่งเป็นหอยทะเลอายุประมาณ ๒๑๘ ล้านปี ที่บริเวณบ้านค้างฮ่อ อำเภอทุ่งช้าง การเดินทางโดยรถยนต์จากที่ทำการอุทยานฯ ไปถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคาที่ 9 (บ้านด่าน) ระยะทางประมาณ ๖๓ กิโลเมตร และเดินทางเท้าขึ้นยอดดอยภูแวประมาณ 8 กิโลเมตร และมีลูกหาบไว้บริการ
น้ำตกภูฟ้า เป็นน้ำตกที่สูงที่สุดในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา สูงประมาณ ๑๔๐ เมตร มีทั้งหมด ๑๒ ชั้น ใช้เวลาไป-กลับ และชมน้ำตกประมาณ ๒ วัน ควรติดต่อเจ้าหน้าที่นำทาง
สิ่งอำนวยความสะดวก ในบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยภูคา มีบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์ บริเวณที่ทำการอุทยานฯ และลานดูดาวซึ่งเป็นจุดชมทิวทัศน์ได้ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ตามถนนสายปัว-บ่อเกลือ ระยะทางประมาณ ๕ กิโลเมตรในบริเวณพื้นที่กางเต็นท์ทั้ง ๒ แห่งนี้ มีห้องน้ำ และห้องสุขาไว้บริการแก่นักท่องเที่ยว จองบ้านพักที่งานบ้านพักสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรุงเทพฯ สามารถจองล่วงหน้าได้ ๖๐ วัน ห้องพักราคา ๘๐๐ บาทต่อคืน
ดอยวาว ตั้งอยู่ในเขตอนุรักษ์ต้นน้ำคาง ตำบลผาทอง เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ธรรมชาติงดงามล้อมรอบด้วยขุนเขา ป่าสน ต้นไม้ขนาดใหญ่และต้นดอกซากุระ อากาศหนาวเย็นตลอดปี สามารถมองเห็นทัศนียภาพ อำเภอท่าวังผาได้ชัดเจนและสวยงาม มีบ้านพักรับรอง 3 หลัง สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ 50 คน ระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอท่าวังผาประมาณ 33 กม. ถนนลาดยาง 29 กม. ลูกรัง 4 กม.
กิ่ง อ.ภูเพียง
วัดพระธาตุแช่แห้ง (พระธาตุประจำปีเกิดปีเถาะ) อยู่ที่ ตำบล ม่วงติ๊ด กิ่งอำเภอ ภูเพียง ห่างจากตัวเมืองน่าน 2 กิโลเมตร พระธาตุแช่แห้ง เป็นปูชนียสถานที่สำคัญมีอายุกว่า 600 ปี พญาการเมืองโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1891 เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากกรุงสุโขทัย องค์พระธาตุมีความสูง 55.5 เมตร ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้างด้านละ22.5 เมตร บุด้วยทองเหลืองปิดทองคำเปลวหมดทั้งองค์